บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนอกจากจะช่วยปกป้องรักษาคุณภาพสินค้า ช่วยในการเก็บรักษา ป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายจากการเคลื่อนย้ายแล้ว ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมด้านการตลาด
พิจารณาได้จาก บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ประเภท กล่องพิซซ่า หรือ แก้วกระดาษ หากมีการออกแบบให้โดดเด่นสวยงาม ยังช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging)
ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อให้ตัวบรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติย่อยสลายได้เอง และสามารถนำไปรีไซเคิลใช้งานใหม่ได้ 100%
โดยมีเจตนาเพื่อใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์ชนิดเก่าๆ จำพวกพลาสติก หรือกล่องโฟม ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ชนิดเหล่านี้ เช่น
- บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
- ขั้นตอนวิธีการผลิตและการรีไซเคิล ไม่สร้างมลภาวะทางอากาศ
- เมื่อถูกทิ้งไม่เป็นที่หลังการใช้งานเสร็จ จะไม่ก่อใหเกิดมลภาวะทางขยะ รวมถึงไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและสัตว์ป่า
- ตัวบรรจุภัณฑ์เมื่อถูกทิ้งหลังใช้งานจะไม่ก่อให้เกิดสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างลงสู่สิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ทั่วไป และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ทั่วไป
- ช่วยปกป้องพ้สดุหรือสินค้าในอยู่ภายในตัวบรรจุภัณฑ์จากปัจจัยต่างๆ ภายนอก เช่น ขั้นตอนการยก ย้ายบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการส่งของเป็นต้น
- ช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร สินค้า และพัสดุด้านในบรรจุภัณฑ์เพื่อคงสภาพความสดใหม่เอาไว้
- ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กิบตัวสินค้าได้ หากบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบมาดูสวยงาม โดดเด่น
- ใช้เป็นสื่อโฆษณาแบรนด์ หรือธุรกิจของคุณผ่านการพิมพ์ Logo และลวดลายต่างๆ ลงบนตัวบรรจุภัณฑ์
- ใช้สำหรับอธิบายสรรพคุณ ข้อมูลโภชนาการต่างๆ รวมถึงวิธีการใช้งาน และวิธีการรับประทานได้ ด้วยการพิมพ์ข้อความเอาไว้ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะมีความสามารถเหมือนบรรจุภัณฑ์ทั่วไปแล้ว จะมีความสำคัญในด้านอื่นๆ เช่น
- ช่วยลดปัญหามลภาวะทางขยะได้
- บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ลดมลพิษทางทะเลที่เกิดขึ้นจากบรรจุภัณฑ์
- สร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ชนิดใดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ : เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ ทำให้มีความสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่ ข้าวโพด อ้อย และกระดาษเป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ที่สามารถไปรีไซเคิลได้ : เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องสามารถนำกลับไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล แปรรูปและสามารถนำมาใช้งานใหม่ได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น กล่องพลาสติกชนิด PET
- บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ : เป็นบรรจุภัณฑ์ทั่วๆ ไป ที่สามารถนำมาล้าง หรือจัดเก็บใช้ซ้ำใหม่ได้ เช่น ภาชนะแก้วสแตนเลส
บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด
1. การใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกให้มีลักษณะที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ เช่น การออกแบบด้วยกราฟิกที่สะดุดตา เมื่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคได้รับฟังโฆษณามาบ้าง หรือมองเห็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ก็สามารถรับรู้หรือจดจำได้เลย ซึ่งจะช่วยในด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี
2. การออกแบบให้สะดวกต่อการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย
การจัดจำหน่ายสินค้าทำได้หลากหลายช่องทางและหลายรูปแบบ ทั้งธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ถูกประยุกต์ผสมผสานการจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม อาจออกแบบโดยเพิ่มหรือลดปริมาณต่อหน่วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
แถมยีงช่วยให้สะดวกต่อกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อปลีกหรือซื้อปริมาณมาก เช่น ออกแบบกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกดฟูก สำหรับบรรจุสินค้าได้ทั้งการขายชนิดปลีกและชนิดขายส่งให้มีความแตกต่างกัน ให้เหมาะสมกับการจัดส่งนั่นเอง
3. ออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า
การออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อให้ได้รูปแบบที่แตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ชนิดเดิมๆ จะช่วยสร้างฐานลูกค้าที่ชอบดีไซน์ของตัวกล่องที่มีเอกลักษณ์ในแต่ละชนิดได้
ยกตัวอย่างเช่นหากบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้มีลวดลายเป็นการ์ตูน Anime ก็จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการ์ตูนหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ของคุณได้ครับ
4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหรือออกแบบผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นของแบรนด์โดยเฉพาะ และมีการผลิตสินค้าชนิดใหม่ๆซึ่งต่อยอดจากสินค้าเดิม สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์เพียงรูปแบบเดียวแต่ใช้สีใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับตัวสินค้าแต่ละประเภท
ตัวอย่างเช่น พัฒนาต่อยอดสินค้าตัวใหม่จากการจำหน่ายพริกแกงเขียวหวาน ปรับเพิ่มเป็น พริกแกงเขียวหวานสูตรปักษ์ใต้ ซึ่งการคงตราสินค้าและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ไว้เปลี่ยนเพียงสีและลวดลายของกล่องกระดาษหรือโลโก้ เป็นการรักษาความสัมพันธ์ของกลุ่มลูกค้าเดิมไว้และสร้างฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นมา
5. การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในลักษณะส่งเสริมการขาย
บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะช่วยส่งเสริมการขายนั้นสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มความน่าสนใจ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้ในตัวผลิตภัณฑ์อยู่แล้วให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจากร้านค้าของคุณ โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น สวยงาม กว่าบรรจุภัณฑ์ที่คู่แข่งของคุณใช้งานอยู่นั่นเอง
6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีตราสินค้า
บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกส่วนมากถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุเยื่อกระดาษ ทำให้สามารถสั่งพิมพ์ตราสินค้า หรือ Logo แบรนด์ธุรกิจของคุณลงไปบนบรรจุภัณฑ์ได้ ซึ่งจะช่วยให้เป็นช่องทางในการสร้างการจดจำ และโฆษณาธุรกิจของคุณได้เช่นกันครับ
แนวทางการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
การออกแบบออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นอกจากส่งเสริมด้านการตลาดทำให้แบรนด์สินค้าเป็นที่จดจำด้วยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว
ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม จะมีดังนี้
1. การออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีส่วนประกอบที่เหมาะสม
แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ปัจจัยแรกได้แก่การลดส่วนประกอบในการออกแบบให้มีความเหมาะสม ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์อย่างมีคุณค่าและยังเป็นการลดปริมาณขยะไปในตัว
เช่น พิจารณาถึงความเหมาะสมของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อาจลดลงได้ ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ฟิล์มห่อหุ้มแต่ละชั้น ป่ายห้อยข้างบรรจุภัณฑ์ สติกเกอร์ และเทปกาวที่ปิดฝากล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก และบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ
2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีน้ำหนักเบา
การออกแบบทำให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบาด้วยการลดปริมาณวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงโดยที่บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นยังทำหน้าที่ปกป้องสินค้าได้ดีเท่าเดิม
3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ได้
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ก็คือการทำให้บรรจุภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
การนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้การออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงทนทานต่อการนำกลับมาใช้ใหม่
4. การออกแบบเพื่อให้นำกลับมาผลิตใหม่
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในลักษณะนี้ เป็นการออกแบบเพื่อนำชิ้นส่วนบรรจุภัณฑ์ เช่น
- กล่องกระดาษลูกฟูก
- กระดาษฝอย
- กระดาษรองกล่อง
- กล่องไฮบริด
- กล่องเก็บเอกสาร
- กระดาษลูกฟูกม้วน
และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ กลับมาทำใหม่หรือเข้ากระบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแบบใหม่ ๆ ออกมาใช้ แนวทางนี้จะเป็นวิธีป้องกันไม่ให้มีขยะบรรจุภัณฑ์หรือทำให้ขยะลดน้อยลง เป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการกำจัดขยะหลังจากใช้แล้ว
5. การออกแบบเพื่อให้นำไปรีไซเคิลใหม่
การรีไซเคิลเป็นการนำเอาบรรจุภัณฑ์ไปแปรรูปใหม่ โดยผู้ออกแบบจะมีแนวทางในการออกแบบเพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปรีไซเคิล ซึ่งขั้นตอนการออกแบบจะพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน จะช่วยให้สะดวกต่อการนำไปรีไซเคิล
6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย
สำหรับแนวทางการการออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย สามารถพิจารณาได้จากขั้นตอนการกำจัดบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 แนวทางดังนี้
- การหมักขยะให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ : คุณสมบัติของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์จะต้องมีส่วนผสมหรือมาจากสารอินทรีย์ เช่น กระดาษ ไม้ พลาสติกที่ย่อยสลายได้เพราะทำจากแป้ง เช่น กล่องไฮบริด ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษมีฝาพลาสติกปิด และสามารถย่อนสลายได้ทางชีวภาพ
- การนำขยะไปถมที่เพื่อให้ขยะสลายตัวเอง : ต้องเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เป็นวัสดุหลัก เนื่องจากขยะจะถูกย่อยสบายด้วยจุรินทรีย์ การย่อยสลายจะทำได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเกิดความชื้น
- การเผาทำลายขยะ : การออกแบบต้องคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำไปเผาทำลายแล้วเกิดมลภาวะทางอากาศได้น้อยที่สุด
7.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้าโดยเฉพาะ
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้านั้นต้องพิจารณาถึงลักษณะของสินค้าควบคู่ไปด้วย ว่าตัวสินค้ามีขนาดเท่าไหร่ น้ำหนักเท่าใด มีคุณสมบัติแข็ง เหลว หรือเปราะบางอย่างไรบ้าง เมื่อข้อมูลของสินค้าครบแล้ว
จึงค่อยมาทำการวิเคราะห์ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นรองรับความต้องการของคุณสมบัติสินค้าได้ทั้งหมดหรือไม่ เพื่อที่จะช่วยให้ตัวสินค้าไม่เกิดความเสียหายใดๆ เมื่อถูกใส่ลงไปในตัวบรรจุภัณฑ์
ลักษณะและรูปแบบบรรจุภัณฑ์กระดาษ
กระดาษเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่นิยมนำมาออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้หลากหลายประเภทและหลายรูปแบบ ด้วยคุณสมบัติของกระดาษที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษใส่ขนม กล่องกระดาษใส่อาหาร และอื่น ๆ
เพื่อใช้ทดแทนกล่องโฟมและพลาสติก ได้อย่างมีคุณภาพ และยังมีต้นทุนต่ำ น้ำหนักเบา สะดวกต่อการจัดพิมพ์ลวดลายหรือออกแบบหรือการปรับเปลี่ยนรูปทรงให้เหมาะสมกับสินค้าได้ง่าย ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น
- กล่อง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งแบบพับ และกล่องกระดาษแข็งแบบตายตัว เช่น กล่องเก็บเอกสาร กล่องใส่เอกสาร กล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์ กล่องพิซซ่า กล่องไก่ทอด กล่องหมูทอด กล่องไฮบริด กล่องใส่อาหาร และกล่องที่ออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้าโดยเฉพาะ ตัวอย่างกล่องใส่ผักผลไม้
- ถุงและซองกระดาษ วัสดุที่นำมาออกแบบและผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กระดาษดราฟท์ ประโยชน์ในการนำไปใช้เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภคบริโภค ปัจจุบันยังนิยมออกแบบเพื่อใช้สำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากถุงหรือซองกระดาษยังสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่แสดงเอกลักษณ์และรายละเอียดของสินค้าและแบรนด์ แสดงชื่อหรือที่อยู่ของผู้ผลิตได้ง่าย
คุณสมบัติของกระดาษสำหรับออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
กระดาษเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่ได้จากเยื่อไม้ในรูปของเส้นใยต่าง ๆ จากพืชและไม้เศรษฐกิจ สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มนิยมใช้เส้นใยที่ผลิตขึ้นมาใหม่ ส่วนบรรจุภัณฑ์บางประเภท เช่น กล่องกระดาษ กระดาษฝอย พาเลทกระดาษ ถาดใส่แก้ว กล่องเก็บเอกสาร และกล่องใส่เอกสาร อาจใช้เยื่อกระดาษเก่าจากการรีไซเคิล
ซึ่งการนำมาใช้ออกแบบขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าเป็นสำคัญ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์กระดาษขึ้นอยู่กับเส้นใยที่นำมาเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ ดังนี้
- ชนิดของเส้นใยจากธรรมชาติ ที่นำมาเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก จะมีทั้งเส้นใยยาวและเส้นใยสั้น ความยาวของเส้นใยจะมีผลต่อคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์กระดาษ ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- เส้นใยสั้น จะมีความยาวประมาณ 18 นิ้ว หรืออยู่ในช่วง 2-46 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมด คุณภาพของเส้นใยชนิดนี้จะวัดจากความละเอียดของเส้นใย เพราะเส้นใยที่มีความละเอียดมากหรือเส้นเล็ก จะทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีคุณภาพที่ดีกว่า
- เส้นใยยาว เส้นใยชนิดนี้จะมีความยาวต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และเส้นใยยาวส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ที่ผลิตในอุตสาหกรรม
- ขนาดของเส้นใย ขนาดของเส้นใยทำให้คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์มีคุณภาพที่แตกต่างกัน เส้นใยที่เล็กจะทำให้ได้เนื้อกระดาษที่ละเอียด เหมาะสำหรับการจัดพิมพ์ และมีคุณภาพ
ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
- สามารถป้องกันความชื้นได้ดี หมายถึงไอของความชื้นจะไม่สามารถผ่านได้เลย เช่น กล่องไก่ทอด กล่องหมูทอด กล่องพัสดุ หรือกล่องไปรษณีย์ เป็นต้น
- ต้านความชื้นได้ดี หมายถึง สามารถป้องกันความชื้นได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือไอความชื้นสามารถซึมผ่านได้ในระยะยาว
- อากาศผ่านได้ หมายถึง บรรจุภัณฑ์ประเภทถุงกระดาษ หรือกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก สำหรับบรรจุสินค้าบางประเภทที่ต้องระบายความร้อนหรือความอับชื้นเพื่อไม่ให้สินค้าเน่าเสีย เช่น ผัก ผลไม้
- กระดาษที่นำมาออกแบบและผลิตมีคุณสมบัติในการต้านไขมันหรือน้ำมันได้เป็นอย่างดี
- กระดาษต้องมีความหนาและ มีน้ำหนักที่ได้ตามมาตรฐาน
- กระดาษที่นำมาออกแบบและใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ จะต้องมีความแข็งตัวหรือมีความคงทนต่อการโค้งงอ
- กระดาษมีคุณสมบัติในการต้านแรงฉีกขาดและทิ่มทะลุได้ดี กระดาษมีความเหนียว
- ความขาวสว่างของกระดาษ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น แก้วกาแฟกระดาษ จานกระดาษ ถ้วยกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมบนบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ทั้งกล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก และอื่น ๆ จะมีฉลากหรือสัญลักษณ์เพื่อสิ่งแวดล้อมพิมพ์ติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับสินค้า และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
นอกจากนั้น ฉลากสิ่งแวดล้อมยังเป็นกลไกการให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เน้นนั้นได้รับมาตรฐาน ISO หรือไม่ โดยสลากที่ควรรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)
ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หลักการพิจารณาเพื่อมอบฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1
โดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจะใช้วิธีพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบบตลอดวัฏจักรชีวิต สำหรับในประเทศไทยฉลากประเภทนี้ได้แก่ “ฉลากเขียว”
2.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)
ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก เป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง แสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ
เช่น ระบุข้อความหรือสัญลักษณ์การนำกลับมาใช้ใหม่ไว้ที่ กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก และจะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเอง
3.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)
ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 จะบ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากประเภทนี้จะมีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะแสดงข้อมูลไว้ที่บรรจุภัณฑ์
บทสรุป
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับวิธีการออกแบบเพื่อส่งเสริมการขาย เกิดจากการรับรู้ของสังคมว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และรับรู้ว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปริมาณขยะ
ทำให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการรายย่อยมีความตระหนักต่อการออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น
นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ยังศึกษา วิจัย คิดค้น และออกแบบให้เกิดเป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์และสามารถเพิ่มมูลค่าทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจมากขึ้น
เช่น การออกแบบกล่องข้าวกระดาษ กล่องกระดาษใส่อาหารที่สามารถอุ่นในไมโครเวฟได้ แก้วน้ำกระดาษ แก้วกาแฟกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทำจากกระดาษที่สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็น
ทำให้การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกทั้งแบบสำเร็จรูปที่โรงงานผลิตออกมาวางจำหน่าย หรือสั่งผลิตตามรูปแบบต้องการ ยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ส่งเสริมการขายและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ช่วยให้สินค้าเป็นที่จดจำได้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของคุณได้อีกด้วย