ประเภทของวัสดุกันกระแทก
วัสดุกันกระแทกที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อใส่ลงไปใน กล่องใส่เอกสาร บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และ กล่องไปรษณีย์จำเป็นต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับสิ่งของที่ใส่ลงไป ทำให้วัสดุกันกระแทกมีหลากหลายชนิด และแต่ละชนิดมีข้อดีข้อด้อย และมีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้
1.แผ่นกระดาษลูกฟูก (Cardboard)
กระดาษลูกฟูก มีสองลักษณะคือ เป็นแผ่นกระดาษลูกฟูก และม้วนกระดาษลูกฟูก ทั้ง 2 ลักษณะทำหน้าที่เป็นแผ่นรองสินค้า ห่อหุ้มสินค้า หรือกั้นตัวสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ เช่น แบ่งช่องของกล่องบรรจุเครื่องแก้ว เช่น ใช้ห่อหุ้มชิ้นส่วน ของเฟอร์นิเจอร์หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักร
2.โฟมพอลิสไตรีน (PS Foam)
โฟมพอลิสไตรีน มีคุณสมบัติที่ป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างการนำโฟมพอลิสไตรีนมาใช้งาน ได้แก่ การนำโฟมชนิดขึ้นรูปจากแม่แบบใช้กับพวกเครื่องแก้ว เซรามิก อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความประณีต ชนิดชิ้นเล็กๆ
3.แผ่นพลาสติกอัดอากาศ (Air Bubble Cushion)
บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่ทำมาจากแผ่นพลาสติกอัดอากาศ ทำจากแผ่นฟิล์มพอลิเอทิลีน 2 แผ่น ประกบกัน โดยทำให้เกิดที่กันอากาศเล็กๆ เกิดขึ้นระหว่างแผ่น ใช้ในการห่อหุ้มสินค้าชิ้นเล็กๆ อย่างเช่น เซรามิก หัตถกรรม หรือที่เราคุ้นเคย เช่น ใช้ห่อหุ้มตู้เย็น เพื่อป้องกันแรงกระแทกระหว่างขนส่ง
4.ฝอยไม้
การใช้ฝอยไม้เป็นวัสดุกันกระแทกแทนเยื่อกระดาษขึ้นรูป (Pulp Mold) ในอดีตมีให้เราเห็นได้บ่อยๆ กับสินค้าประเภท ผัก ผลไม้ หรือสินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ในสินค้าอุตสาหกรรม ผักและผลไม้ เนื่องจากป้องกันปัญหาปนเปื้อน แต่ยังนิยมใช้กับสินค้าประเภทของขวัญ หรือสินค้าที่แสดงถึงความมีคุณค่าสูง เช่น หินแกะสลักขนาดเล็ก หรืองานฝีมือพวกเซรามิก เพราะเป็นวัสุดกันกระแทกที่ได้จากธรรมชาติ
5.ฝอยกระดาษ
ฝอยกระดาษ เป็นวัสดุกันกระแทกที่หาได้ง่ายราคาถูก แต่มีข้อด้อยคือ ดูดซับความชื้นในอากาศได้ง่าย มีการปนเปื้อนของฝุ่นละอองและไม่สะอาด ทำให้ไม่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหรืออาหารเป็นเภทผักหรือผลไม้ แต่จะใช้งานประเภทเดียวกับฝอยไม้ คือเป็นสินค้าประเภทงานฝีมือ หินแกะสลักขนาดเล็ก และเฟอร์นิเจอร์ของแตกแต่งชิ้นเล็กๆ
6.กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper)
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) คือ กระดาษที่ผลิตมาจากเยื่อเคมี (Chemical Pulp) จากกระบวนการคราฟท์ (Kraft Process) เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อแปรสภาพจากเนื้อไม้มาเป็นเยื่อกระดาษไม้ (Wood Pulp) วิธีการนั้นจะใช้ทั้งสารเคมี และความร้อนเพื่อทำการแยกเยื่อไม้ เราเรียกวิธีการนี้ว่าการกระบวนการคราฟท์ ซึ่งจะทำให้ได้กระดาษที่มีความแข็งแรง คงทน และมีความเหนียวสูง จึงถูกนิยมนำมาใช้เพื่อห่อหุ้มสิ่งของ ช่วยสำหรับการกันกระแทกได้ดีเช่นเดียวกัน
วัสดุกันกระแทกที่นิยมใช้มากในปัจจุบันได้แก่ แผ่นกันกระแทกประเภทโฟม มีลักษณะเด่นคือสามารถผลิตให้ได้ความหนาแน่นเหมาะสมกับสินค้าหลากหลานยประเภท ทั้งสินค้าอุณสาหกรรมและผักผลไม้ รวมไปถึงวัสดุกันกระแทกอย่างเช่น แผ่นกระดาษลูกฟูก ก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน