บรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีหลากหลายชนิด หลายประเภทตั้งแต่กล่องข้าวใส่อาหาร แก้วใส่เครื่องดื่ม ฝาปิดแก้ว ช้อน-ซ่อม และอื่นๆ อีกมาก แต่ในเหล่าบรรจุภัณฑ์ที่ถูกใช้งานนั้นจะมีบรรจุภัณฑ์ชนิดไหนสามารถนำไปรีไซเคิลได้บ้างล่ะ หาคำตอบได้ในบทความนี้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกแบบไหนที่รีไซเคิลได้
บรรจุภัณฑ์อาหารชนิดพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลใหม่ได้ จำเป็นจะต้องถูกผลิตขึ้นมาจากพลาสติกดังต่อไปนี้
- โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ที่ผลิตขึ้นมาจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างเอทิลีนไกลคอลกับไดเมทิลเทเรฟทาเลต นิยมนำมาใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์ทั้งสาหรับอาหารและเครื่องดื่ม
- โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เป็นพลาสติกชนิดโพลีเมอร์เทอร์โมพลาสติกอเนกประสงค์ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสารเคมีสูง ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้นิยมนำไปใช้เป็นขวดใส่น้ำ ขวดนม หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม
- โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ทั่วไปพลาสติกชนิดนี้จะมีสีขาว ไม่มีกลิ่น แต่เปราะบาง ทนทานต่อการเสื่อมสลาย และการเกิด Oxidation ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน นิยมผลิตขึ้นมาเป็นท่อน้ำปะปา สายยาง แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหารเป็นต้น
- โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นพลาสติกชนิดพอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกทำมาจากโมโนเมอร์เอทิลีน มีความหนาแน่นต่ำ ความแข็งแรงสูง และสามารถทนทานต่ออุณหภูมิได้ดี นิยมใช้ทำเป็นฟิล์มห่ออาหาร หรือนำมารีไซเคิลใหม่เป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำที่พบเห็นได้ทั่วๆไปนั่นเอง
- โพลิโพรพิลีน (PP) เป็นพลาสติกชนิด พอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติก ขึ้นรูปด้วยความร้อนได้หลายครั้ง มีน้ำหนักเบา สามารถดัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ตามต้องการได้ นิยมนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยาเป็นต้น
- โพลีสไตรีน (PS) เป็นพลาสติกชนิดพอลิเมอไรเซชันของสไตรีน มีความแข็ง น้ำหนักเบา และโปร่งใส นิยมใช้ทำเป็นภาชนะบรรจุของใช้ โฟมใส่อาหาร เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็สามารถนำไปรีไซเคิลหลอมเพื่อใช้งานใหม่ได้เช่นกัน เพียงแต่จำเป็นจะต้องแยกประเภทพลาสติกให้ถูกชนิดเสียก่อน ถึงจะสามารถนำไปหลอมแล้วขึ้นรูปใช้งานใหม่ได้
ประเภทของกระบวนการรีไซเคิล (Recycled Plastics)
ประเภทของการรีไซเคิลสามารถจำแนกออกได้ 4 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
1. Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ)
Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ) เป็นกระบวนการรีไซเคิลโดยนำเอาพลาสติกชนิดเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน มาเข้าสู่กระบวนการผลิตใช้ซ้ำภายในโรงงานใหม่อีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขอยู่ว่าพลาสติกชนิดเดียวกันที่นำมาใช้นั้นต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนใดๆ หลายๆ ครั้งก็อาจจะมีการเติมเม็ดพลาสติก หรือส่วนผสมอื่นๆ เข้าร่วมเพื่อผลิตออกมาเป็นพลาสติกที่ต้องการ
2. Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ)
Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ) คือการนำพลาสติกชนิดใช้แล้วมาทำความสะอาด แล้วบด หลอม ขึ้นรูปใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ แต่วิธีการรีไซเคิลนี้มักพบปัญหาเรื่องความคงทนของผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ ทำให้ต้องทำการผสมเม็ดพลาสติกใหม่ หรือเครือบผิวของผลิตภัณฑ์ด้วยพลาสติกใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากพลาสติกรีไซเคิล
3. Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ)
Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ) หรือการรีไซเคิลทางเคมี (Chemical recycling) เป็นการนำพลาสติกเข้าสู่กระบวนการทางเคมีเพื่อทำลายสายโซ่พอลิเมอร์ให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่มีค่ามากกว่าเดิม นับได้ว่าเป็นอีกวิธีการที่มีความคุ้มค่า และสามารถจัดการกับขยะพลาสติกที่มีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยได้ดี
4. Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ)
Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ) คือการนำพลาสติกมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ทดแทน โดยความร้อนที่ได้จากพลาสติกนั้นจะมีความใกล้เคียงกับความร้อนของถ่านหิน ทำให้สามารถนำไปใช้ในการเผาไหม้แทนได้ ช่วยให้ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการเผาขยะส่วนต่างๆ
ขั้นตอนการรีไซเคิลพลาสติก
การรีไซเคิลพลาสติกมีวิธีที่ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่ที่ตัวพลาสติกว่าเป็นชนิดอะไร และความต้องการของผู้นำไปรีไซเคิลว่าต้องการนำไปใช้งานในส่วนไหน แต่เบื้องต้นแล้วทุกวิธีการรีไซเคิลจำเป็นจะต้องมีขึ้นตอนดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบชนิดหรือประเภทของพลาสติก
ในขั้นตอนแรกของการรีไซเคิลจำเป็นต้องทำการตรวจสอบชนิดของพลาสติกเสียก่อนว่าเป็นพลาสติกชนิดใด เช่น พลาสติกชนิดPP, PE เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทำการตรวจสอบด้วยว่าพลาสติกเหล่านั้นมีการปนเปื้อนจากพลาสติกอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงจะต้องคัดแยกคุณลักษณะของพลาสติกออกจากกัน ว่าพลาสติกใช้หรับงานใด แล้วจึงค่อยเริ่มต้นทำความสะอาดตัวพลาสติกเพื่อนำไปสู่กระบวนการถัดไป
2. ขั้นตอนการบดพลาสติก
หลังจากที่พลาสติกถูกนำไปทำควารมสะอาดเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำไปบด หรือตัดตัวพลาสติกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่าสแครป (Scrap) เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการนำไปหลอมพลาสติก หากตัวพลาสติกที่ถูกบดแล้วไม่มีปัญหาก็สามารถนำไปใช้งานในกระบวนการต่อไปได้เลย เพียงแต่จะมีพลาสติกบางประเภทที่จำเป็นต้องนำไปล้างทำความสะอาดใหม่เพื่อให้สะอาดอยู่หลายครั้ง แล้วจึงค่อยนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลถัดไป
3. ขั้นตอนแปรรูปพลาสติก
ขั้นตอนแปรรูปพลาสติกจะถูกแบ่งออกเป็นสามวิธีด้วยกัน ได้แก่
- การหลอมพลาสติกที่ต้องการ ให้เป็นเมล็ดพลาสติกเกรดสอง หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อที่จะนำไปใช้งานต่อในด้านต่างๆ
- สลายตัวพลาสติกด้วยความร้อนสูง เป็นวิธีการที่จะทำให้ขยะพลาสติกถูกแปรรูปไปเป็นน้ำมันปิโตรเลียมใหม่ด้วยความร้อน เป็นวิธีการทำสามารถรีไซเคิลพลาสติกได้ทุกชนิด เพียงแต่วิธีการนี้มีข้อจำกัดตรงที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
- การแปรรูปพลาสติกไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยวิธีการบด และอัดขยะพลาสติกเหล่านั้นให้เป็นแผ่น แล้วนำไปขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์
สรุป
บรรจุภัณฑ์อาหารแบบพลาสติกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนมากล้วนนำไปรีไซเคิลใหม่ได้ เพียงแต่ต้องดูว่าชนิดของพลาสติกในตัวบรรจุภัณฑ์คืออะไร และเหมาะกับนำไปรีไซเคิลใช้งานเป็นแบบไหน โดยขั้นตอนการรีไซเคิลก็จะเริ่มต้นจากการตรวจสอบชนิดของพลาสติกเหล่านั้น ทำการบดพลาสติก และสุดท้ายจึงนำไปแปรรูปเพื่อใช้งาน
นอกจากนี้ประเภทของกระบวนการรีไซเคิล (Recycled Plastics) ก็มีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ), Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ), Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ) และ Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ) แต่ละชนิดก็มีกระบวนการรีไซเคิล และแปรรูปพลาสติกออกมาใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของผู้รีไซเคิล และชนิดของพลาสติกที่นำมารีไซเคิลว่าเหมาะกับการนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลใดครับ