คุณอาจเคยได้ยินคำว่า ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ (Carbon Footprint) บ่อยครั้งในบริบทของการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่แท้จริงแล้วมันคืออะไร ? หาคำตอบได้ในบทความนี้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยคำว่า carbon footprint เปรียบสเหมือนได้กับรอยเท้า หรือประวัติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ
โดยก๊าซเรือนกระจกที่จะถูกพิจารณานำมาตรวจสอบนั้น จะมีอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- ก๊าซมีเทน
- ก๊าซไนตรัสออกไซด์
- ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์
- ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์
- กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน
- กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน
Carbon Footprint ขององค์กร คือ ?
Carbon Footprint ขององค์กร หรือ Carbon Footprint for Organization คือ ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากการกระทำ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม
ตัวอย่างเช่นการสร้างหรือผลิตผลิตภัณฑ์ การกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น การขนส่ง ไปจนกระทั่งการใช้พลังงาน และเชื้อเพลิงต่างๆ ภายในองค์กร
หรือหากให้แยกประเภทของ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นจากองค์กร สามารถแยกได้เป็นสามชนิด ดังนี้
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทำกระทำและกิจกรรมขององค์กร เช่น การเผาไหม่ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และการปล่อยก๊าศมีเทนจากขั้นตอนการผลิตเป็นต้น
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานทางอ้อม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงโรงไฟฟ้า หรือไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกใช้งานในองค์กร
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมอื่นๆ ขององค์กร เช่น การเดินทาง การขนส่ง และกระจายสินค้า
ประโยชน์ของการตรวจสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
- ได้ทราบถึงจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรได้
- ช่วยให้สามารถวางแผน และวิธีจัดการ ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้ลดน้อยลงได้
- เพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และทำให้คุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนลงได้
ข้อกําหนดขอบเขตการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ขอบเขตของการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. Cradle to Gate หรือ Business to Business (B2B)
จะคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงบางส่วนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมทั้งหมด เริ่มคำนวณตั้งแต่การได้มาของวัสดุ กระบวนการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนที่เกี่ยวข้องการขนส่ง และการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ไว้
2. Cradle to Grave หรือ Business to Consumer (B2C)
จะคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกช่วงของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เริ่มคำนวณตั้งแต่การได้มาของวัสดุ กระบวนการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนที่เกี่ยวข้องการขนส่ง และการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์
ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหลังการใช้งานเสร็จแล้วของลูกค้า รวมถึงประเมินและตรวจสอบมลพิษที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนการทิ้งผลิตภัณฑ์หลังใช้งานแล้วด้วย