fbpx

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ และความสำคัญที่นักธุรกิจ SMEs ควรรู้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์

ยุคกระแสโลกาภิวัตน์และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบมาจากขยะบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการตื่นตัวของกลุ่มผู้บริโภค ที่เริ่มใส่ใจและให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้าที่บรรจุอยู่ใน บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เช่น กล่องกระดาษใส่อาหาร  กล่องกระดาษใส่ขนม กระดาษฝอย กระดาษรองกล่อง กระดาษรองจาน หรือ กระดาษปูพื้นรถยนต์ แทนสินค้าที่อยู่ในกล่องโฟม หรือ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กันมากขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ และความสำคัญที่นักธุรกิจ SMEs ควรรู้

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบมาจากขยะบรรจุภัณฑ์ รวมถึงพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เห็นความสำคัญและต้องการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกกฎหมายมาควบคุมหรือคุ้มครองผู้บริโภคในหลายๆ ด้าน เช่น เพื่อให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด สามารถรับรู้ได้ว่าสินค้าที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ชนิดใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลรายละเอียดแสดงไว้ที่กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่น ๆ ให้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงปริมาณสินค้า วัน เดือน ปี ที่ผลิตและสถานที่ตั้งของโรงงานหรือสถานประกอบการ สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ ได้แก่

1.พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466

พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 เป็น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ประเภทกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่น ๆ พ.ร.บ. ฉบับนี้ควบคุมดูแลผู้ประกอบการในการบรรจุสินค้าให้ถูกต้องตามปริมาณที่ระบุไว้ โดยครอบคลุมสินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศ และยังรวมถึงสินค้าหีบห่อที่นำเข้ามาหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นอกจากนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ชั่ง ตวงวัด จะต้องได้ใบรับรอง ตัวเลขที่ระบุรายละเอียดสามารถใช้ตัวเลขอารบิคหรือตัวเลขไทยได้ ขนาดของตัวเลขและตัวอักษรที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร

2.พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

รายละเอียดและสาระสำคัญในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เนื้อหาสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและฉลากอาหาร  ดังนี้

การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้วจึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยประเภทของอาหารที่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารอาหารก่อนนำมาผลิตและบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม หรือ บรรจุลงในกล่องกระดาษใส่อาหาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  คือ

  1. อาหารควบคุมเฉพาะ หมายถึง อาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคมากที่สุด เช่น อาหารของทารก หรือผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด จึงต้องมีการกำหนดด้านคุณภาพหรือมาตรฐาน รวมทั้งการแสดงข้อมูลรายละเอียดหรือฉลากสินค้าไว้ที่กล่องกระดาษ กระดาษลูกฟูกหรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่น ๆ
  2. อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน คืออาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค แต่ไม่รุนแรงเท่ากับกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ การขออนุญาตผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในข้อมูลอาหาร เช่น สูตร กรรมวิธีการผลิต ฉลาก ความ ปลอดภัย รวมทั้งคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะต้องยื่นขอใช้ฉลากอาหาร
  3. อาหารที่กำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลากมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาหารที่ต้องส่งมอบฉลากให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย) พิจารณาก่อนนำใช้ และกลุ่มอาหารที่ไม่ต้องส่งมอบให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย) พิจารณา

การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร

อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพและที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงทำการผลิต อาหารที่ต้องขออนุญาตใช้ฉลากมี 4 กลุ่ม คือ

  1. อาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตจากสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน คือ มีเครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ คนงาน 7 คนขึ้นไป
  2. อาหารที่ถูกกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
  3. อาหารที่ถูกนำเข้าประเทศเพื่อจำหน่ายซึ่งไม่ใช่อาหารควบคุมเฉพาะ
  4. อาหารอื่นที่มีการจำหน่ายและรัฐมนตรีออกประกาศกำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก คือ อาหารประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 และบางส่วนของประเภทที่ 4 ตามที่ประกาศกำหนดต้องมีฉลากที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ของประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน ของรัฐขึ้น เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้บัญญัติให้องค์กรของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม การดูแล และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิร้องเรียนเพื่อขอให้ได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

สิทธิของผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย มี 4 ข้อดังนี้

  1. สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ระบุไว้บนกล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
  2. สิทธิของผู้บริโภคที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ โดยปราศจากการผูกขาด
  3. สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
  4. สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้าหรือบริการ

สิทธิของผู้บริโภคจะ จะมีองค์กรคุ้มครองของรัฐตาม พ.ร.บ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีการแบ่งการคุ้มครองผู้บริโภคเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ด้านโฆษณา และด้านฉลาก และมีคณะอนุกรรมการย่อยลงไปอีกเพื่อสอดส่องดูแล รับเรื่องร้องทุกข์พิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพและจังหวัดอื่น ๆ

4.พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ “สมอ” เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ โดยมีหน้าที่หลัก ได้แก่

  1. การกำหนมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม (มอก.)
  2. การรับรองระบบคุณภาพและรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ
  3. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งโลก เช่น องค์การค้าระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือที่ ISO องค์การโลก (World Trade Organization หรือ WTO) และองค์กรอื่น ๆ

ความหมายของมาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทิศทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ เครื่องหมายเหล่านี้ จะเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทำขึ้นได้ตามมาตรฐาน เครื่องหมายมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความเชื่อถือในสินค้าและธุรกิจ อันเป็นการเพิ่มความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทยทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ สามารถแสดงไว้อย่างเด่นชัดบนกล่องบรรจุภัณฑ์ กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม หรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

  1. เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศด้วยการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น
  2. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ
  3. เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค
  4. เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการใช้งานและผลิต
  5. เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและประสานกันได้พอดี

องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

นอกจากพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว องค์กรที่รับผิดชอบโดยตรงตามพระราชบัญญัติเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ ได้แก่

  1. สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
  2. คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  3. คณะกรรมการผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. สำนักงานมาตรฐานอุตสหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

นอกเหนือจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์แล้ว ยังมีองค์กรส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชนที่มีกิจกรรม เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

  1. ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากพืช
  2. ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่ให้บริการแนะนำ ส่งเสริม และพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ ผู้ประกอบการกลุ่มบุคคล และบุคคลทั่วไป ตัวอย่างเช่น สนับสนุนส่งเสริมการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องอาหารกระดาษ กล่องข้าวกระดาษ แก้วกระดาษที่ใส่ได้ทั้งร้อนและเย็น เป็นต้น
  3. ศูนย์บริการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก
  4. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจ ธุรกิจ SMEs รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อย  ควรศึกษาเรียนรู้ เพราะนอกจากทำให้ทราบแนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค เป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

แนะนำสินค้าจากโรงงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า | แจ้งยกเลิกการประมวลผลข้อมูล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า