ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำธุรกิจ เพราะนอกจากใช้ห่อหุ้มเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย บรรจุภัณฑ์ยังทำหน้าที่ส่งเสริมการขายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและทำความเข้าใจกับหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดที่สามารถสร้างความได้เปรียบด้านการตลาดให้กับแบรนด์ธุรกิจได้เป็นอย่างดี
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
ประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ไทย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
การค้นพบการใช้บรรจุภัณฑ์ในอดีต จากหลักฐานเชื่อว่ามนุษย์หินเป็นชนกลุ่มแรกที่ค้นพบจากความบังเอิญ โดยการนำดินเหนียวมาปั้นและม้วนยืดเป็นเส้นยาวแล้วขดวางซ้อนกันเป็นวงกลมตามแนวความสูงเพื่อใช้เป็นภาชนะ เมื่อนำไปเผาด้วยฟืนทำให้ได้ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำที่ไม่รั่วซึม จากความบังเอิญจึงกลายเป็นจุดกำเนิดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้ต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนามาตามลำดับ จนทำให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมากมากมาย
สำหรับประเทศไทย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ หรือมีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ในวิถีชีวิต ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกเป็นประโยคหนึ่งที่จารึกว่า “ใครใคร่ค้า ค้า” และ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า มีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในวิถีชีวิต อันได้แก่ ข้องไม้ไผ่สำหรับใส่ปลา สานตะกร้าใช้ใส่พืชผัก การผลิตหม้อเดินเผาสำหรับหุงต้มซึ่งในสมัยสุโขทัยนับได้ว่ามีชื่อเสียงด้านเครื่องปั้นดินเผา หรือตัดไม้ไผ่ที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติมาใส่น้ำดื่ม ใช้ใบตอง ใบไม้บางชนิดมาใส่อาหารหรือใช้ในการแปรรูปอาหาร
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงที่มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวมอารยธรรมความเจริญ เพราะมีหลากหลายชาติและหลายภาษา คนไทยในยุคนั้นเริ่มได้รับวิชาความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์จากต่างชาติที่นำเข้ามา เช่น ขวดแก้วบรรจุเหล้ากลั่นที่มีความสวยงาม กล่องบรรจุยาเส้น หีบไม้ หีบเหล็ก และบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากเมืองจีน เช่น ถังไม้บรรจุอาหารประเภทหมักดอง กล่องหรือลังไม้สำหรับบรรจุผักหรือผลไม้แปรรูป
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ ยังไม่เป็นที่รู้จักนอกจากยังไม่มีโรงงานผลิตกระดาษแล้ว ในยุคนั้นเห็นว่ากระดาษเป็นของสูงเนื่องจากกระดาษข่อยหรือสมุดข่อยใช้สำหรับจดสูตรยาตำราหลวง ยาพื้นเมือง ยาผีบอก หรือใช้สำหรับพระบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่ควรนำมาใช้หีบห่อหรือทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่สิ่งของ การพัฒนาหรือผลิตบรรจุภัณฑ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จึงแสดงถึงการผลิตตามรูปแบบการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ดังนี้
1.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มหรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ เริ่มจากการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาผลิตวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบตอง เชือกกล้วย ใบลาน ปอ หรือดินที่นำมาทำเป็นเครื่องปั้นดินเผา
2.จากนั้นค่อยๆ พัฒนามาเป็นการใช้โลหะผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น หีบเหล็กบรรจุเครื่องมือเครื่องใช้ หีบไม้ กล่องใส่ขนม หรือกล่องยาเส้นจากโลหะและไม้
3.ขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การผลิต บรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องแก้วเจียรนัย ขวดแก้ว อลูมินัม ฟลอยล์ โฟม และ และการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกระดาษ เช่น กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก พาเลทกระดาษ เยื่อกระดาษขึ้นรูป กล่องกระดาษใส่อาหาร กล่องกระดาษใส่ขนม หรืออื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์มีบทบาทและเป็นส่วนประกอบสำคัญขององค์กรธุรกิจทุกรูปแบบ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติกำลังอยู่ในความสนใจของผู้บริโภค เนื่องจากส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังลดปัญหามลภาวะจากการกำจัดขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอย่างผิดวิธี เช่น การเผาหรือย่อยสลวยด้วยน้ำยาเคมี ดังนั้น นักธุรกิจเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการ รวมทั้งนักออกแบบ เมื่อต้องการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ จึงต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพิจารณาถึงความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบ วัตถุประสงค์ วางแผนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงแยกความหมายออกเป็น 2 ประโยค ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ หมายถึง และสิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร
บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
ส่วนคำว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งแวดล้อมยังเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ ในที่นี้ยังครอบคลุมถึงผลกระทบที่เกิดจากวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วก่อให้เกิดปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกด้วย
ดังนั้น ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง สิ่งที่นำมาบรรจุหีบห่อสินค้าเพื่อปกป้องสินค้าไม่ให้ชำรุดเสียหาย หรือรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้นานและสามารถส่งถึงกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้บรรจุหีบห่อสินค้าต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์ กล่องกระดาษใส่ขนม และกล่องกระดาษใส่อาหาร เป็นต้น
2.องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์ หรือรายละเอียดและส่วนประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกและตัดสินใจซื้อของกลุ่มลูกค้า ได้แก่
- ชื่อของสินค้า
- ตราหรือโลโก้ ที่ใช้แสดงสัญลักษณ์ของแบรนด์สินค้า
- สัญลักษณ์ทางการค้า
- รายละเอียดของสินค้า เช่น คุณสมบัติของสินค้าที่ใช้แล้วแตกต่างหรือมีประโยชน์อย่างไร
- รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย
- รูปภาพสินค้าหรือรูปดภาพที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
- ส่วนประกอบของสินค้า
- ปริมาณของสินค้าที่บรรจุไว้
- ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย (ถ้ามี)
- รายละเอียดต่าง ๆ ตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิต
3.วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
สำหรับของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ อยู่ 2 ประการ ได้แก่ การเอื้อประโยชน์ด้านการใช้สอย และเพื่อการสื่อสารหรือใช้เป็นสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดังนี้
- การเอื้อประโยชน์ด้านการใช้สอย ได้แก่ การปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยจากผู้ผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ประหยัด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุที่นำมาใช้เมื่อใช้แล้วต้องสามารถปลูกทดแทนหรือนำกลับมาใช้ได้ใหม่ การออกแบบแก้วกาแฟกระดาษ กล่องพิซซ่า / กระดาษรองอาหาร ชามกระดาษ และถ้วยกระดาษ เป็นต้น
- เพื่อการสื่อสารหรือเป็นใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถสร้างการจดจำหรือสร้างทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าได้
4.วางแผน การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
สำหรับขั้นตอนการวางแผน การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม มีแนวทางในการออกแบบที่นักออกแบบต้องให้ความสำคัญอยู่ 2 ประการได้แก่ การตั้งจุดมุ่งหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการวางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตการออกแบบอย่างเป็นระบบ ดังนี้
- การตั้งจุดมุ่งหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อมูลที่นักออกแบบต้องทราบ เช่น รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่งที่มีอยู่ในท้องตลาด ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีจุดมุ่งหมายในออกแบบเพื่อการแข่งขันหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความความแตกได้ง่าย
- วางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตการออกแบบอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การนำปัจจัยต่าง ๆ ทีได้จากการวิเคราะห์ มาเป็นข้อมูลเพื่อวางแนวทางการออกแบบ เช่น การออกแบบให้ฉีกแนวแตกต่างจากคู่แข่งด้านการตลาด หรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งโดยตรงด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า เช่น คิดค้น ค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้นวัตกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ มาผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ผลิตชามใบไม้ แทนชามกระดาษ ถาดกระดาษ
5.ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม ผู้ออกแบบจะต้องทราบข้อจำกัดต่าง ๆ รวมทั้งขั้นตอนการออกแบบต้องมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นตอนการวางแผน ได้แก่ กำหนดเวลา ผลงานที่ควรได้รับในแต่ละขั้นตอนการทำงาน และกำหนดรายละเอียดของสินค้า
- ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการออกแบบ ได้แก่ ข้อมูลด้านการตลาด พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้า สถานะการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
- การออกแบบร่าง ได้แก่ พัฒนาความคิดให้ได้แบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างและเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะ และจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์
- ขั้นตอนการประชุมพิจารณาปรับต้นแบบ ได้แก่ การนำเสนอต้นแบบให้ผู้ประกอบหรือผู้ผลิตทราบ เพื่อทำการประชุมพิจารณาปรับต้นแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการ
- ขั้นตอนการทำแบบเสมือนจริง ได้แก่ การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบกราฟิกเสมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า
- สร้างต้นแบบเพื่อสั่งผลิต
6.ขั้นตอนบริหารการผลิต
ในส่วนของขั้นตอนบริหารการผลิตเป็นขั้นตอนที่ผู้ประกอบการ นักธุรกิจเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ หรือนักออกแบบต้องบริหารขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจาก การติดต่อโรงงานผู้ผลิต เลือกโรงงานที่ได้มาตรฐาน เลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมตามแบบที่ต้องการ และควบคุมติดตามจัดส่งบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงานผลิต จนถึงคลังสินค้าของผู้ประกอบการ
สรุป
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ไทย จะพิจารณาเห็นว่า วิวัฒนาการหรือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากการออกแบบและผลิตให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตามรูปแบบการใช้สอยในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแล้ว ความทันสมัยของเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีความทันสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคม อาทิเช่น การออกแบบกล่องพิซซ่า / กระดาษรองอาหาร กล่องกระดาษใส่อาหาร หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ที่สามารถอุ่นในโครเวฟได้ หรือออกแบบแก้วกระดาษที่สามารถใช้กับเครื่องดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น
นอกจากนั้นการดูแลและใส่ใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ รวมถึงการรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เน้นการมีส่วนร่วมโดยการเลือกซื้อหรือเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา ศึกษา คิดค้นและวิจัย เพื่อให้ได้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งนอกจากทำให้ได้นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้านการตลาดได้แล้ว ยังเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค สร้างการจดจำและทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
2 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
24 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
9 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
122 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
75 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
21 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
138 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
27 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
19 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า