กระดาษลูกฟูก มีทั้งแบบ กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น และ กระดาษลูกฟูกม้วน 2 ชั้น ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้อย่างมากในปัจจุบัน โดยนิยมนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อไว้ใส่สินค้าต่างๆ ก่อนนำไปจัดส่ง เนื่องจากกระดาษลูกฟูกมีคุณสมบัติพิเศษมากมายที่เหมาะสม เช่น ความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
เกรดกระดาษลูกฟูก มีอะไรบ้าง?
เกรดกระดาษลูกฟูก ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย เหตุเพราะในแต่สายงาน หรือธุรกิจนั้นย่อมมีความต่างในการใช้งานของกระดาษลูกฟูกออกไป จึงเป็นสาเหตุทำให้กระดาษลุกฟูกถูกพัฒนา และรองรับให้ใช้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ในแต่ละสายงาน หรือแต่ละความต้องการต่างๆกันออกไป ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย
1. Ka สีน้ำตาลทอง
กระดาษ KA สีน้ำตาลทอง มีลักษณะที่หลายท่านอาจพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยจะเจอได้ตามซองจดหมาย หรือซองเอกสารต่างๆอยู่บ่อยๆ นอกเหนือจากนั้น ยังเป็น เกรดกระดาษ Ka ยังถูกนิยมในมาใช้บรรจุสินค้า ที่มีน้ำหนักมาก เหตุเพราะมีความแข็งแรงสูง และยังสามารถกันความชื้นอย่างดี
น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230 กรัม/ตารางเมตร
2. Ks สีขาว
กระดาษ KS สีขาว เป็นกระดาษที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ นิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ ใส่ของ และพัสดุต่างๆ นอกจากนั้นตัวผิวของกระดาษมีสีขาวเพื่อช่วยให้ดูสวยงาม สะอาดตา และยังช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อีกด้วย
น้ำหนักมาตราฐาน : 170 กรัม/ตารางเมตร
3. KT สีน้ำตาล
กระดาษ KT สีน้ำตาล ได้รับความนิยมสูงในการใช้งานเพื่อจัดส่งออกสินค้า เนื่องจากสามารถวางเรียงซ้อนได้ง่าย ช่วยในเรื่องของประหยัดพื้นที่ แถมยังเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยให้บริษัทหรือธุรกิจของท่านได้รับความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150 กรัม/ตารางเมตร
4. KI สีครีม
กระดาษ KI มีพื้นผิวเป็นสีน้ำตาลอ่อน โดยไม่มีการย้อมสีเลยแม้แต่น้อย ส่วนคุณสมบัตินั้นเป็นกระดาษที่สามารถรับแรงกระแทก และแรงกดทับได้ดี และยังสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ ทั้งยังมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ จึงทำให้ช่วยลดต้นทุนในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ได้อีกด้วย
น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185 กรัม/ตารางเมตร
5. CA สีน้ำตาลอ่อน
กระดาษชนิดนี้ นิยมนำมาใช้เป็นลอนลูกฟูก หรือนำมาปูรองเยื่อกระดาษอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติต่างๆของกระดาษ ทั้งช่วยให้มีความแข็งแรง รับแรงกระแทก และอื่นๆตามที่ต้องการ ซึ่งนอกจากนี้กระดาษ CA ยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นผลิตกล่องกระดาษด้านหลัง เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้เช่นกัน
น้ำหนักมาตราฐาน : 105, 125 กรัม/ตารางเมตร
การเลือกใช้เกรดกระดาษ ให้เหมาะสม เพิ่มความสวยงามให้ Package ของคุณ
ในการเลือกใช้เกรดกระดาษให้เหมาะสมกับ Package หรือบรรจุภัณฑ์ ให้เกิดความสวยงามต้องคำนึงถึงในหลายปัจจัย อย่างสินค้าที่จะทำการบรรจุในบรรจุภัณฑ์นั้น ว่ามีขนาด น้ำหนัก ประเภท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลในเรื่องของความเหมาะสมในการเลือกใช้เกรดกระดาษมาทำการสั่งผลิตพิมพ์แบรนด์ พิมพ์โลโก้ พิมพ์ลวดลายให้สวยงามเพิ่มมูลค่า
ในการดำเนินการ สั่งผลิตซึ่งกระดาษแต่ละเกรดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมีความเหมาะสมกับการใช้บรรจุสินค้าแต่ละประเภทที่แตกต่างกันมีหลายเกรดเช่น KS,KA,KI,KTแล้วเกรดกระดาษอะไรเหมาะกับเพิ่มคความสวยงามกับบรรจุภัณฑ์แบบใดบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
- กล่อง หรือ Package สำหรับสินค้าส่งออกหรือกล่องพัสดุควรใช้เกรดกระดาษ KT (มีราคาถูกสุด) กระดาษสีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อกระดาษ Recycled 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติการวางเรียงซ้อน เหมาะกับ สินค้าส่งออก สินค้าทั่วไปที่รวมไปถึงประเภทของเครื่องสำอางด้วย
- เกรดกระดาษที่เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าที่เกี่ยวกับความงามเหมาะในการสั่งผลิตพิมพ์ลวดลายกราฟฟิค เกรด KI สีครีม ดูมีความนวลๆสบายตา เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี เป็นที่นิยมสำหรับงานพิมพ์กล่องให้ดูสวยงามอ่อนละมุน เหมาะสมกับสินค้าอย่างจำพวกเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว อาหารเสริม ที่ไม่เน้นความแข็งแรงมาก
- เกรดกระดาษที่เหมาะกับนำไปใช้กับ Package ที่สามารถเข้าช่องแช่เย็นหรือบรรจุสินค้าอย่างผลไม้ได้ ควรเป็นกระดาษเกรด KA กระดาษสีน้ำตาลทองที่แกรมกระดาษตั้งแต่ 125 – 230 ทนความชื้นกว่าสเปคก่อน นิยมใช้ สำหรับส่งออกและสินค้าที่ต้องบรรจุในห้องอุณหภูมิติดลบเพราะเครื่องสำอางบางชนิดอาจากต้องนำเข้าตู้เย็นเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าไว้
แกรมของกระดาษคืออะไร
กระดาษมีน้ำหนักเท่าไร และมีหน่วยวัดอย่างไรเป็นเรื่องที่อาจเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายคนที่อาจจะรู้ถึงหน่วยของน้ำหนักอย่าง กิโลกรัม กรัม หรือ ตัน ซึ่งก็คือหน่วยเรียกพื้นฐานที่หลายท่านก็ทราบดีอยู่แล้วแต่ก็จะมีวัตถุดิบบางปรเภทที่มีหน่วยเรียกแตกต่างกันออกไป อย่างที่ กระดาษจะมีหน่วยและวิธีการวัดน้ำหนักที่ต่างจากสิ่งของทั่วไป นั่นก็คือ แกรม (gsm) ครับ
ความหมายของคำว่า แกรม หรือ ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า gsm หรือชื่อเต็มคือ Gram Per Square Meter ซึ่งก็คือหน่วยวัดน้ำหนักของกระดาษต่อหน่วยพื้นที่ ซึ่งเป็นน้ำหนักมาตรฐาน (Basis weight หรือ Grammage) โดยมีวิธีการตรวจสอบง่ายๆ ด้วยการนำกระดาษที่มีพื้นที่ขนาด 1 x 1 เมตรมาชั่งน้ำหนัก หรือใช้กระดาษที่มีพื้นที่ขนาด 10 x 10 เซนติเมตร เพื่อตรวจสอบขนาดแกรมก็ได้เช่นกันครับ ดังนั้นเพื่อให้ทำความเข้าใจและเห็นภาพอย่างง่ายๆ ยกตัวอย่างกระดาษขนาด 60 และ 80แกรม หมายถึงกระดาษที่มีน้ำหนัก 60 และ 80 แตกต่างกันตามน้ำหนักที่วัดเป็น แกรมต่อตารางเมตรนั่นเองครับ
วิธีการเลือก กระดาษลูกฟูก
การเลือกซื้อ กระดาษลูกฟูก ถือเป็นอีกสิ่งที่จำเป็น เพราะหากเราสามารถเลือกกระดาษที่เหมาะสม มีคุณภาพที่ตรงตามความต้องการใช้งานจริง นอกจากจะช่วยให้กระดาษลูกฟูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วนั้น ยังจะสามารถช่วยลดต้นในการจัดซื้อได้อีกด้วย
โดยวิธีการดูว่ากระดาษลูกฟูก มีคุณภาพแค่ไหนนั้นมีพื้นฐานอยู่ 3 อย่างดังนี้
1. สามารถต้านทานรับแรงกดวงแหวน ( Ring crush resistance )
การต้านทานแรงกดวงแหวน เป็น การแสดงถึงความสามารถของกระดาษในการรับแรงกดทับ ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการใส่พัสดุที่มีน้ำหนักมาก ลงไปในบรรจุภัณฑ์ เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่า กล่องกระดาษใบนี้สามารถใส่พัสดุน้ำหนักเท่าไหร่ได้บ้าง เพราะหากพัสดุหรือสิ่งของที่ทำการใส่ลงไปนั้นมีน้ำหนักมากกว่าที่กระดาษจะรองรับไหว จะทำให้เกิดการทะลุ หรือพับตัวของกระดาษได้ ซึ่งนั่นจะนำมาสู่ปัญหาต่างๆภายหลังได้อีกด้วย
2. สามารถต้านทานแรงดันทะลุได้ ( Bursting strength )
การต้านทานแรงดันทะลุ เป็น สิ่งที่จะแสดงถึงความสามารถของกระดาษอีกสิ่งเลยก็ว่าได้ เพราะการนำกระดาษลูกฟูกมาเป็นบรรจุภัณฑ์นั้น บางธุรกิจหรือบริษัทก็นำพัสดุที่มีปลายแหลมคมต่างๆมาจัดส่ง เช่น มีด กรรไกร ปากกา แก้วน้ำ เป็นต้น เพราะฉะนั้นนอกจากวิธีการห่อสินค้า หรือพัสดุแล้วนั้น ตัวกล่องเองก็ต้องมีการรองรับที่แน่นหนา และทนทานต่อการเจาะทะลุได้ดี เพื่อให้พัสดุที่ทำการใส่ลงไปนั้นถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย
3. สามารถต้านแรงกดทับของกระดาษลูกฟูก ( Compression strength )
การต้านแรงกดทับของกระดาษลูกฟูก เป็น ความสามารถของกระดาษลูกฟูกในการต้านแรงกดที่กระทำบนกล่องจนกระดาษลูกฟูกนั้นเสียรูปหรือรับแรงกดต่อไปอีกไม่ได้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าสามารถน้ำหนักสิ่งของต่างๆที่สามารถทับลงบนกล่องได้แค่ไหน เพราะหากเกิดกรณีที่กล่องของท่านต้องไปอยู่ด้านล่าง กล่องใบอื่นๆเพื่อทำการวางซ้อนกันก่อนจัดส่งนั้น หากกล่องใบนั้นมีความสามารถแรงกดทับที่น้อย อาจทำให้เกิดการยุบของตัวกล่อง และส่งผลให้พัสดุ สิ่งของที่อยู่ด้านในเกิดการเสียหายได้เช่นกัน
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาทำกล่องบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียนมีเกร็ดความรู้ดีๆที่เป็นความลับ(ที่ไม่ลับ)เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบมาผลิตเป็นกล่องกระดาษซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร ดังนี้
- การเลือกประเภทกระดาษ หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการเลือกวัตถุดิบมาทำกล่องบรรจุภัณฑ์ ให้เกิดความเหมาะสมกับสินค้าที่จะทำการบรรจุในแต่ละประเภทสินค้าคือการเลือกกระดาษยกตัวอย่างเช่น กระดาษคราฟท์ใช้ เหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง เยื่อกระดาษขึ้นรูปเป็นกระดาษที่รับการกระแทกได้ดีแต่ไม่เหมาะกับการใช้กับกล่องที่ต้องบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และกระดาษลูกฟูกมีน้ำหนักเบาแข็งแรงทนทาน เหมาะกับสินค้าสำหรับการจัดส่งหรือบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักพอสมควร
- การเลือกลอนของกระดาษ ยกตัวอย่างเช่น ลอน A เป็นลอนกระดาษที่มีความหนาพอสมควร สามารถเรียงซ้อนกันได้มากและไม่เน้นในเรื่องของงานพิมพ์ ,ลอน B มีความหนาของลอน 3 มิลลิเมตร สามารถรับน้ำหนักได้ดี หรือจะเป็นลอน E ที่เหมาะกับงานทำกล่องแบบไดคัทรับน้ำหนักได้ดีอีกทั้งยังเหมาะกับงานพิมพ์ลายพิมพ์โลโก้เพิ่มความสวยงามได้อีกด้วย
- การเลือกเกรดของกระดาษ กระดาษมีอยู่หลายเกรดอย่างเกรด KA สีน้ำตาลทองเหมาะกับซองไปรษณีย์กล่องพัสดุ, KS สีขาวเป็นเกรดที่สามารถนำมาใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าอย่างพัสดุ สิ่งของทั่วไปสามารถรับน้ำหนักได้ดี , KT สีน้ำตาลเป็นเกรดที่นิยมใช้กับกล่องบรรจุสินค้าเพื่อการขนส่ง การส่งออก สามารถเรียงซ้อนกันได้มาก
เกรดและสีกระดาษลูกฟูกที่นิยมนำมาทำกล่องบรรจุภัณฑ์
กล่องกระดาษลูกฟูกผลิตมาจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติ ย่อยสลายและสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยในการเลือกเกรดกระดาษในการใช้ผลิตกล่องให้เหมาะสมมีอยู่หลายเกรดกระดาษที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม
จึงทำให้กล่องกระดาษที่หบายท่านอาจจะยังไม่ทราบมีเกรดที่แตกต่างกัน โดย เกรดกระดาษและสีที่เหมาะกับการนำมาทำกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีเกรดกระดาษใดบ้าง ดังนี้
- เกรด CA มีสีน้ำตาลอ่อน
- เกรด KT มีสีน้ำตาลเข้ม
- เกรด KI มีสีน้ำตาลอ่อน
- เกรด KA เป็นกล่องมีสีน้ำตาลทอง
- เกรด KS มีสีขาว
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
2 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
24 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
9 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
122 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
75 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
21 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
138 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
27 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
19 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า