การลงทุนทุกประเภทรวมถึงการเปิดร้านอาหาร การทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายกินหรือขายอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่แตกต่างไปจากการทำธุรกิจอื่นๆและยิ่งเป็นธุรกิจร้านอาหารที่เป็นงานบริการ ผลกระทบเกิดขึ้นได้ง่ายตัวอย่างง่ายๆ ในช่วงกระแสการอนุรักษ์และมีการรณรงค์ให้ใช้ บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม จากวัสดุธรรมชาติ หากผู้ประกอบการปรับตัวตามไม่ทันก็อาจทำให้ธุรกิจอยู่ในช่วงขาลงหรือมีผลกระทบทำให้รายได้ลดลงได้
6 วิธีรับมือ เมื่อธุรกิจร้านอาหารประสบปัญหาอยู่ในช่วงขาลง
1.รู้ทันข้อมูลข่าวสาร
ยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้คน นอกจากการสื่อสารทำได้สะดวกรวดเร็วยังส่งผลให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน การติดตามข้อมูลข่าวสาร เช่น ราคาวัตถุดิบ พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้า เทรนด์บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม การคิดค้นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆถือเป็นการรับมือที่ช่วยแก้ปัญหาธุรกิจขาลงได้เป็นอย่างดี
2.สร้าง Connection ทางธุรกิจ
Connection ก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเป็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในหลายๆรูปแบบ เช่น การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มทัวร์ การออกบูธแสดงสินค้ากับหน่วยงาน เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ค้าส่งวัตถุดิบ เช่นเข้าร่วมแข่งขันการทำอาหาร ประกวดอาหาร
3.สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง
ปัญหาในการทำร้านอาหารเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยผู้ประกอบการอาจเรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น เพราะมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นได้เสมอ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองได้แก่การนำพาตัวเองไปอยู่ใกล้คนเก่ง เพื่อให้ได้รับแรงบันดาลใจได้รับพลังงานและได้แนวคิดดีๆ เช่น การเข้าอบรมกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆหรือซื้อคอร์สที่มีผู้รู้ในเรื่องนั้นๆจัดสัมมนา ถือเป็นการชาร์จแบตหรือเติมพลังให้สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
4.วิเคราะห์ธุรกิจ
การเปิดร้านอาหาร เป็นธุรกิจการให้บริการที่ต้องสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคในทุกๆด้าน ทั้งในเรื่องของรสชาติอาหาร การให้บริการของพนักงาน ความสะอาด ความสดใหม่ของวัตถุดิบ ความรวดเร็วในการให้บริการ รวมถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างการใช้กล่องข้าวกระดาษ กล่องอาหารกระดาษ แทนการใช้กล่องโฟม เมื่อเริ่มรับรู้ว่าธุรกิจเริ่มมีปัญหาต้องนำองค์ประกอบเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่าอยู่ในช่วงขาลงเพราะเหตุใด
5.ทำการตลาดเชิงรุก
วิธีรับมือหรือป้องกันปัญหาร้านอาหารอยู่ในช่วงขาลงลูกค้าหายรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ก็คือทำการตลาดเชิงรุกเพื่อขยายฐานลูกค้าทำให้มีกลุ่มลูกค้าใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่น จัดเมนูอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นเคาน์เตอร์เล็กๆ เข้าร่วมงานนิทรรศการอาหารหรือนำเสนอเป็นเมนูแนะนำในโอกาสพิเศษที่ศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า package จะต้องสื่อสารและมีรายละเอียดที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน เช่น ติดสติกเกอร์หรือโลโก้ร้านไว้ที่ถ้วย แก้ว ชามกระดาษ
5.การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนา
การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการพัฒนาเสมอ ธุรกิจร้านอาหารไม่ว่าจะอยู่ในช่วงขาลงหรือยังมีลูกค้ามาใช้บริการและมีรายได้ตามเป้าหมาย เพื่อสร้างความแปลกใหม่ที่น่าสนใจ ผู้ประกอบการต้องวางแผนปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของร้าน การจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นมุมถ่ายภาพ การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้สวยงามและมีเอกลักษณ์ สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อกลับไปทานที่บ้าน
ทั้ง 6 วิธีผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้ไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงขาลงลูกค้าเริ่มหาย รายได้ไม่เพียงพออยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องหรืออยู่ในช่วงกำลังรุ่งธุรกิจกำลังไปได้ดี เพราะความเสี่ยงเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงเรารู้ทันโอกาสและวิธีรับมือกับปัญหาก็ทำได้ไม่ยาก
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
2 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
24 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
9 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
122 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
75 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
21 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
138 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
27 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
19 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า