บรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีหลากหลายชนิด หลายประเภทตั้งแต่กล่องข้าวใส่อาหาร แก้วใส่เครื่องดื่ม ฝาปิดแก้ว ช้อน-ซ่อม และอื่นๆ อีกมาก แต่ในเหล่าบรรจุภัณฑ์ที่ถูกใช้งานนั้นจะมีบรรจุภัณฑ์ชนิดไหนสามารถนำไปรีไซเคิลได้บ้างล่ะ หาคำตอบได้ในบทความนี้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกแบบไหนที่รีไซเคิลได้
บรรจุภัณฑ์อาหารชนิดพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลใหม่ได้ จำเป็นจะต้องถูกผลิตขึ้นมาจากพลาสติกดังต่อไปนี้
- โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ที่ผลิตขึ้นมาจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างเอทิลีนไกลคอลกับไดเมทิลเทเรฟทาเลต นิยมนำมาใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์ทั้งสาหรับอาหารและเครื่องดื่ม
- โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เป็นพลาสติกชนิดโพลีเมอร์เทอร์โมพลาสติกอเนกประสงค์ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสารเคมีสูง ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้นิยมนำไปใช้เป็นขวดใส่น้ำ ขวดนม หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม
- โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ทั่วไปพลาสติกชนิดนี้จะมีสีขาว ไม่มีกลิ่น แต่เปราะบาง ทนทานต่อการเสื่อมสลาย และการเกิด Oxidation ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน นิยมผลิตขึ้นมาเป็นท่อน้ำปะปา สายยาง แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหารเป็นต้น
- โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นพลาสติกชนิดพอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกทำมาจากโมโนเมอร์เอทิลีน มีความหนาแน่นต่ำ ความแข็งแรงสูง และสามารถทนทานต่ออุณหภูมิได้ดี นิยมใช้ทำเป็นฟิล์มห่ออาหาร หรือนำมารีไซเคิลใหม่เป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำที่พบเห็นได้ทั่วๆไปนั่นเอง
- โพลิโพรพิลีน (PP) เป็นพลาสติกชนิด พอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติก ขึ้นรูปด้วยความร้อนได้หลายครั้ง มีน้ำหนักเบา สามารถดัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ตามต้องการได้ นิยมนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยาเป็นต้น
- โพลีสไตรีน (PS) เป็นพลาสติกชนิดพอลิเมอไรเซชันของสไตรีน มีความแข็ง น้ำหนักเบา และโปร่งใส นิยมใช้ทำเป็นภาชนะบรรจุของใช้ โฟมใส่อาหาร เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็สามารถนำไปรีไซเคิลหลอมเพื่อใช้งานใหม่ได้เช่นกัน เพียงแต่จำเป็นจะต้องแยกประเภทพลาสติกให้ถูกชนิดเสียก่อน ถึงจะสามารถนำไปหลอมแล้วขึ้นรูปใช้งานใหม่ได้
ประเภทของกระบวนการรีไซเคิล (Recycled Plastics)
ประเภทของการรีไซเคิลสามารถจำแนกออกได้ 4 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
1. Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ)
Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ) เป็นกระบวนการรีไซเคิลโดยนำเอาพลาสติกชนิดเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน มาเข้าสู่กระบวนการผลิตใช้ซ้ำภายในโรงงานใหม่อีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขอยู่ว่าพลาสติกชนิดเดียวกันที่นำมาใช้นั้นต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนใดๆ หลายๆ ครั้งก็อาจจะมีการเติมเม็ดพลาสติก หรือส่วนผสมอื่นๆ เข้าร่วมเพื่อผลิตออกมาเป็นพลาสติกที่ต้องการ
2. Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ)
Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ) คือการนำพลาสติกชนิดใช้แล้วมาทำความสะอาด แล้วบด หลอม ขึ้นรูปใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ แต่วิธีการรีไซเคิลนี้มักพบปัญหาเรื่องความคงทนของผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ ทำให้ต้องทำการผสมเม็ดพลาสติกใหม่ หรือเครือบผิวของผลิตภัณฑ์ด้วยพลาสติกใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากพลาสติกรีไซเคิล
3. Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ)
Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ) หรือการรีไซเคิลทางเคมี (Chemical recycling) เป็นการนำพลาสติกเข้าสู่กระบวนการทางเคมีเพื่อทำลายสายโซ่พอลิเมอร์ให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่มีค่ามากกว่าเดิม นับได้ว่าเป็นอีกวิธีการที่มีความคุ้มค่า และสามารถจัดการกับขยะพลาสติกที่มีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยได้ดี
4. Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ)
Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ) คือการนำพลาสติกมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ทดแทน โดยความร้อนที่ได้จากพลาสติกนั้นจะมีความใกล้เคียงกับความร้อนของถ่านหิน ทำให้สามารถนำไปใช้ในการเผาไหม้แทนได้ ช่วยให้ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการเผาขยะส่วนต่างๆ
ขั้นตอนการรีไซเคิลพลาสติก
การรีไซเคิลพลาสติกมีวิธีที่ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่ที่ตัวพลาสติกว่าเป็นชนิดอะไร และความต้องการของผู้นำไปรีไซเคิลว่าต้องการนำไปใช้งานในส่วนไหน แต่เบื้องต้นแล้วทุกวิธีการรีไซเคิลจำเป็นจะต้องมีขึ้นตอนดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบชนิดหรือประเภทของพลาสติก
ในขั้นตอนแรกของการรีไซเคิลจำเป็นต้องทำการตรวจสอบชนิดของพลาสติกเสียก่อนว่าเป็นพลาสติกชนิดใด เช่น พลาสติกชนิดPP, PE เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทำการตรวจสอบด้วยว่าพลาสติกเหล่านั้นมีการปนเปื้อนจากพลาสติกอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงจะต้องคัดแยกคุณลักษณะของพลาสติกออกจากกัน ว่าพลาสติกใช้หรับงานใด แล้วจึงค่อยเริ่มต้นทำความสะอาดตัวพลาสติกเพื่อนำไปสู่กระบวนการถัดไป
2. ขั้นตอนการบดพลาสติก
หลังจากที่พลาสติกถูกนำไปทำควารมสะอาดเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำไปบด หรือตัดตัวพลาสติกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่าสแครป (Scrap) เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการนำไปหลอมพลาสติก หากตัวพลาสติกที่ถูกบดแล้วไม่มีปัญหาก็สามารถนำไปใช้งานในกระบวนการต่อไปได้เลย เพียงแต่จะมีพลาสติกบางประเภทที่จำเป็นต้องนำไปล้างทำความสะอาดใหม่เพื่อให้สะอาดอยู่หลายครั้ง แล้วจึงค่อยนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลถัดไป
3. ขั้นตอนแปรรูปพลาสติก
ขั้นตอนแปรรูปพลาสติกจะถูกแบ่งออกเป็นสามวิธีด้วยกัน ได้แก่
- การหลอมพลาสติกที่ต้องการ ให้เป็นเมล็ดพลาสติกเกรดสอง หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อที่จะนำไปใช้งานต่อในด้านต่างๆ
- สลายตัวพลาสติกด้วยความร้อนสูง เป็นวิธีการที่จะทำให้ขยะพลาสติกถูกแปรรูปไปเป็นน้ำมันปิโตรเลียมใหม่ด้วยความร้อน เป็นวิธีการทำสามารถรีไซเคิลพลาสติกได้ทุกชนิด เพียงแต่วิธีการนี้มีข้อจำกัดตรงที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
- การแปรรูปพลาสติกไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยวิธีการบด และอัดขยะพลาสติกเหล่านั้นให้เป็นแผ่น แล้วนำไปขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์
สรุป
บรรจุภัณฑ์อาหารแบบพลาสติกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนมากล้วนนำไปรีไซเคิลใหม่ได้ เพียงแต่ต้องดูว่าชนิดของพลาสติกในตัวบรรจุภัณฑ์คืออะไร และเหมาะกับนำไปรีไซเคิลใช้งานเป็นแบบไหน โดยขั้นตอนการรีไซเคิลก็จะเริ่มต้นจากการตรวจสอบชนิดของพลาสติกเหล่านั้น ทำการบดพลาสติก และสุดท้ายจึงนำไปแปรรูปเพื่อใช้งาน
นอกจากนี้ประเภทของกระบวนการรีไซเคิล (Recycled Plastics) ก็มีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ Primary Recycling (การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ), Secondary Recycling (การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ), Tertiary recycling (การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ) และ Quaternary recycling (การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ) แต่ละชนิดก็มีกระบวนการรีไซเคิล และแปรรูปพลาสติกออกมาใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของผู้รีไซเคิล และชนิดของพลาสติกที่นำมารีไซเคิลว่าเหมาะกับการนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลใดครับ
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
21 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
25 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
8 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
120 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
73 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
20 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
189 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
29 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
16 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
47 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า