แนะนำการเลือกกล่องและบรรจุสิ่งของที่มีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย

แนะนำการบรรจุสิ่งของที่มีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย-blog-HTP

การบรรจุสิ่งของที่มีความเปราะบางและเป็นของที่มีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย 

การบรรจุหรือทำการแพ็คกิ้งของที่แตกหักง่ายเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างแพ็คหรือจัดส่งจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในขั้นตอนของการแพ็คสินค้า และการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าสินค้าจะถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

ขั้นตอนผลิตกล่องไปรษณีย์

  1. การเลือกใช้วัสดุ

ข้อแรกนั้นการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาทำการแพ็คที่เหมาะสมกับทั้งประเภทสิ่งของ ขนาด น้ำหนัก เรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างการเลือกใช้วัสดุดูดซับแรงกระแทกคุณภาพสูงเพื่อนำมาทำการห่อหุ้ม พัสดุหรือสิ่งของที่มีความเปราะบางเช่น พวกเรซิ่น แก้ว-ชามเซรามิค เป็นต้น โดยวัสดุที่เหมาะสมจะนำมาใช้แพ็คสินค้าเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับของประเภทนี้ อาทิเช่น โฟมโพลีเอทิลีน แผ่นบับเบิ้ลกันกระแทก และกระดาษลูกฟูก3ชั้น และ 5 ชั้นเป็นแผ่นกระดาษลูกฟูกที่รับน้ำหนักได้ดีและช่วยป้องกันสินค้าเสียหายได้ โดยวัสดุที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเหล่านี้เป็นวัสดุสำหรับนำไปแพ็คกิ้งที่ให้การรองรับและกันกระแทกได้อย่างที่ดีเยี่ยม

  1. การแพ็คสินค้าโดยใช้เทคนิค กล่องซ้อนกล่อง 

การวางกล่องซ้อนกล่อง ในกล่องอีกทีหนึ่งหรือจะเรียกทับศัพท์ว่า บ๊อก ทู บ๊อก เป็นอีกเทคนิคที่เราจะนำสิ่งของ หรือ สินค้าที่จะทำการบรรจุหีบห่อ ลงไปในกล่องที่มีขนาดเล็กกว่ากล่องพัศดุหลัก เพื่อนำไปวางลงไปในกล่องที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกทีหนึ่ง โดยกล่องที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นควรที่จะมีวัสดุที่สามารถกันกระแทกอยู่ภายในห้อมล้อมตัวกล่องที่มีขนาดเล็กที่เราทำการวางลงไปอีกชั้นหนึ่ง โดยวิธีง่ายๆถือเป็นไอเดียที่เจ๋งไม่น้อย แถมยังช่วยเพิ่มการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับของที่แตกหักง่ายได้อย่างมากขึ้นด้วย เปรียบเหมือนการบรรจุสิ่งของที่มีการป้องกันเพิ่มระดับไปถึง 2 ชั้น และด้วยเทคนิคนี้จะเป็นการช่วยดูดซับแรงกระแทกได้มากขึ้น ทำให้สินค้ามีความเสี่ยงที่จะแตกหักน้อยลงอย่างมาก 

  1. การแพ็คของแบบแยกชิ้นและการใช้แผ่นกระดาษลูกฟูกกั้น

การใช้ฉากกระดาษลูกฟูกที่มีความหนา3-5 ชั้นกั้นสิ่งของที่แตกหักง่ายที่มีจำนวนหลายชิ้นหรือเป็นของที่สามารถแยกส่วนกันได้ เพราะบางครั้งในขั้นตอนของการขนส่งหากไม่มีการเอาแผ่นลูกฟูกมากั้นสิ่งของที่มีจำนวนหลายชิ้น เช่น เครื่องแก้ว หรือ ตุ๊กตากระเบื้อง 

ซึ่งเป็นสิ่งของที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่ของเหล่านี้จะไหลมาชนหรือกระแทกกันจนเกิดความเสียหายได้ระหว่างการขนส่ง ฉะนั้นแล้วการใช้ฉากมากั้นสิ่งของให้มีความเป็นสัดส่วนนอกจากจะช่วยให้สะดวกต่อการแพ็คแล้วยังช่วยแยกสิ่งของออกจากกันและป้องกันไม่ให้ชนกัน สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับสิ่งของต่างๆ เป็นอีกวิธีดีๆที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งได้

  1. การเลือกใช้เทปกาวที่มีคุณภาพสูง

หนึ่งในไอเท็มที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับการแพ็คสิ่งของนอกจากบรรจุภัณฑ์แล้วนั่นก็คือ เทปกาว นอกจากจะช่วยในการปิดรอยต่อ ปิดปากกล่องแล้วยังถือว่าการใช้เทปช่วยในการแพ็คของเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับบรรจุภัณฑ์ไม่ให้ฝากล่องเปิด หรือมีสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปภายในกล่องและยิ่งถ้าเราเลือกใช้เทปกาวที่มีคุณภาพ มีความเหนียวทนทาน และเลือกใช้ขนาดเทปให้มีความเหมาะสมแล้วด้วยนั้นยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าจะช่วยรักษาสิ่งของลดความความเสียหายได้ ยังทำให้สิ่งของที่ทำการบรรจุหีบห่อเพื่อจัดส่งยังคงความสมบูรณ์อยู่ภายในระหว่างการขนส่งให้ถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย เพราะว่าเทปนั้นเป็นวัสดุที่ไวต่อแรงกด และยังกันน้ำรั่วซึมได้ดีระดับหนึ่งด้วย เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ขาดไม่ได้สำหรับการแพ็คสินค้ากลุ่มที่เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย 

  1. การเลือกใช้วัสดุกันกระแทกที่มาจากวัสดุธรรม สอดคล้องกับการจัดการทรัพย์ยากรป่าที่ยั่งยืน

สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือวัสดุแบบไหน วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุประเภทที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดย สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และเป็นวัสดุที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางกาศหรือมลพิษทางน้ำ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ก็จำพวก กล่องกระดาษลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพวกบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลังอย่างถุงบางประเภท ซึ่งวัสดุเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัสดุที่นำมาใช้ในการแพ็คกิ้งสิ่งของที่แตกหักง่าย รวมไปถึงสิ่งของทั่วไป บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุจากธรรมชาติยังเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดการกระทบ ดูดซับและป้องกันการกระแทกได้ดีไม่แพ้วัสดุที่ทำจากพลาสติกเลย และที่สำคัญช่วยลดผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

  1. การควบคุมความชื้นของวัสดุ สิ่งของที่ทำการบรรจุ 

การปกป้องสิ่งของที่เปราะบางจากความชื้นถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการแพ็คสินค้าและระมัดระวังเรื่องความชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้กับสินค้าเกือบจะทุกประเภทเราควรระมัดวังและรอบคอบขึ้นในการแพ็คด้วยการใช้วัสดุดูดซับความชื้น ยกตัวอย่างที่จะเห็นกันได้ทั่วไปอย่าง สารกันชื้น (Silica Ge)l หรือเรียกทับศัพย์ว่า ซิลิก้า เจล เป็นสารดูดความชื้นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ช่วยดูดซับความชื้นจากบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ ช่วยรักษาสินค้าให้แห้งอยู่เสมอ ไม่เปียกชื้น ที่อาจจะส่งผลให้ของนั้นๆเสือกคุณภาพ อย่างสีเลอะ พลาสติกเหนียว เป็นต้น การใส่สารกันชื้นเข้าควบคู่ไปกับการแพ็คกิ้งสินค้าที่มีความแน่นหนาปลอดภัยนอกจากจะช่วยเรื่องของการป้องกันการกระแทก ป้องกันกันแตกหักแล้วนั้น การใส่สารกันชื้นก็ยังสามารถช่วยให้สินค้าคงสภาพสมบูรณ์ได้อีกวิธีหนึ่ง ถือว่าเป็นการยืดอายุสินค้าเพิ่มความปลอดภัยอีกหนึ่งเทคนิค

  1. การติดฉลากที่เป็นสัญลักษณ์ระบุเตือนให้มีความชัดเจน

การติดฉลากหรือสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่าระวังแตกหัก หรือที่จะเห็นกันบ่อยๆสำหรับคนที่ทำการแพ็คสินค้าเพื่อขนส่งของประเภทนี้อย่างคำในภาษาอังกฤษว่า Fragile สัญลักษณ์นี้ควรมีการติดบนบรรจุภัณฑ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเคลื่อนย้ายอย่างชัดเจนเพราะจะช่วยทำให้ผู้ที่ทำการขนย้าย จัดส่ง หรือ ผู้รับทราบว่าของสิ่งนั้นเป็นของที่มีความ “เปราะบาง” จะให้เกิดความระมัดระวังมากขึ้น โดยการติดสติ๊กเกอร์ระบุนั้นจะช่วยให้ผู้ให้บริการขนส่งทั้งสาธรณะและเอกชนได้ทราบว่าสินค้าชิ้นนี้คือของประเภทที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษทั้งในระหว่างการเคลื่อนย้าย ไม่ควรโยน หรือก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งที่จะส่งผลต่อสิ่งของกลุ่มเปราะบาง

ด้วยการติดป้ายเตือนลักษณะนี้ หรือสติ๊กเกอร์ที่มีอักษรเตือนนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่าควรระมัดระวังเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าได้ เพราะหากไม่มีป้ายเตือนระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าที่เปราะบาง อาจจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบว่าสิ่งของข้างในสุ่มเสี่ยงอย่างไรต่อสินค้าที่เปราะบางระหว่างการขนส่งซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งของหากไม่ระวัง ถือเป็นการเตือนที่นอกจจะจะช่วยเชฟสิ่งของแล้วยังแสดงถึงความรับผิดชอบใส่ใจรายเอียดจากมือผู้ส่งถือผู้รับด้วย 

 

วิธีการแพ็คสินค้าที่แตกหักง่ายเพื่อขนส่งทางทะเล และทางอากาศ 

จากหัวข้อข้างต้นจะทำให้ทราบถึงวิธีการรวมถึงเทคนิคทั้งการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาทำการแพ็คสินค้ากลุ่มที่มีความเปราะบาง เสี่ยงแตกหักง่ายแล้วว่าใช้วัสดุแบบใดที่เหมาสมใรการแพ็ค การติดป้ายเตือน เทคนิคการใช้กล่องซ้อน เป็นต้น แล้วการส่งสินค้ากลุ่มนี้ผ่านการขนส่งทางไกลที่มีการใช้เรือ หรือเครื่องบิน มีวิธีการอย่างไรบ้าง 

อย่างที่ทราบกันการจัดส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สะดวกที่สุด ณ ยุคปัจจุบันนี้หนีไม่พ้น การขนส่งทางบกทั้งการใช้บริการบริษัทเอกชน รัฐวิสหกิจ แต่นอกจากช่องทางการขนส่งหลักคือทางบกที่เป็นที่นิยมและสะดวกที่สุดมักเป็นการจัดส่งแบบภายในประเทศสะส่วนใหญ่ แต่ยังมีช่องทางการจัดส่งที่เป็นการส่งระยะไกลหรือขนส่งไปนอกประเทศนอกจากการเลือกใช้กล่องบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับการขนส่งแล้วสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งประเภทอื่นนอกจากทางบกนั้น ซึ่งเป็นการขนส่งที่มี 2 ช่องทางคือ ทางอากาศและทางเรือหรือทางน้ำ ดังนั้นมีข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางน้ำให้สินค้าเกิดความปลอดภัยและไม่ขัดต่อกฎของการขนส่งทั้งสองประเภทนี้จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ดังนี้ครับ

สิ่งที่ควรรู้ การจัดส่งสินค้าทางน้ำ 

  • ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก เพราะการขนส่งทางนี้มีความชื้นสูงอาจทำให้สินค้าเสียหายได้ หากจำเป็นก็ควรมีการใส่สารกันชื้นไปกับสินค้าระหว่างการแพ็คของด้วย 
  • ไม่ควรใช้กล่องโฟม เพราะอาจมีการชำรุดและทำให้สินค้าภายในที่บรจุไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังสร้างมลพิษให้ทางน้ำอีกด้วย ตัวเลือกที่เหมาะอย่างเช่นกระดาษลูกฟูกที่รองรับน้ำหนักได้ดี และไม่เปื่อยยุ่ยง่าย 
  • ไม่เหมาะกับขนส่งกระเป๋าเดินทางที่มีล้อ เพราะจะทำให้สินค้ามีการไหลเคลื่อนย้ายจากการขนส่งได้หากทำการแพ็คกิ้งไม่แน่นหนาพอเนื่อจากคลื่น เสี่ยงต่อความปลอดภัยของสินค้า
  • ควรมีการบรรจุสินค้าให้แน่นหนาและระบุประเภทสินค้าให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อการขนส่ง
  • ควรคำนึงถึงทั้งน้ำหนัก ขนาด รูปร่างของสิ่งของที่จะทำการแพ็คเพื่อใช้จัดส่งทางน้ำให้ดี เพราะจะได้ทำการแพ็คถูกวิธีป้องกันจุดเสี่ยงที่จะแตกหักได้เพราะการขนส่งทางนี้อาจจะมีบางช่วงที่กล่องมีการขยับจากแรงคลื่น หรือปัจจัยอื่นๆ ดังนั้นระมัดระวังและรอบคอบในการแพ็คนะครับ 
  • การบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักมากควรบรรจุในกล่องที่มีขนาดเล็กเพื่อความสมดุลของน้ำหนักและการขนย้าย หากใช้กล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสิ่งของนั้นๆ อาจทำให้กล่องมีขาดจากน้ำหนักและบรรจุภัณฑ์ที่มีความไม่สมดุลกัน 
  • ควรมีการติดเทปกาวที่มีคุณภาพให้แน่นหนา ในขั้นตอนการแพ็คกิ้ง

การขนส่งสินค้าทางอากาศ 

  • ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งเรื่องของน้ำหนักสิ่งของ ขนาดของบรรจุภัณฑ์เพราะปัจจัยโดยรวมเหล่านี้ส่งผลต่ออัตราค่าขนส่ง เพราะการส่งทางอากาศมีค่าใช้จ่ายสูงมากที่สุดในบรรดาการจัดส่งทั้งหมด 
  • สินค้าในการขนส่งจำกัดประเภทตรวจเช็คให้ดีก่อนทำการจัดส่ง ควรติดป้ายเตือนหรือสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่าเป็นสิ่งของที่แตกหักง่าย เปราะบางระบไว้ให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ก็ดีและช่วยให้สินค้าได้รับความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 
  • ควรแพ็คสินค้าให้มีความแน่นหนา ตามข้อเสนอแนะในหัวข้อข้างต้นทั้ง 7 ข้อให้ดี เพื่อความปลอดภัยระหว่างการจัดส่ง
  • ไม่ส่งสินค้าที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศรวมไปถึงทางบกและทางน้ำด้วย 
  • เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามข้อกำหนดของการขนส่งทางเครื่องบินตามที่กฏหมายกำหนดไว้ 
  • ศึกษารายละเอียดสินค้า อัตราค่าส่ง ระยะเวลาให้ดีก่อนจะจัดส่งยิ่งสินค้าที่มีความเปราะบางด้วยแล้วควรมีความรอบคอบให้เป็นพิเศษ

แนะนำสินค้าจากโรงงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า | แจ้งยกเลิกการประมวลผลข้อมูล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า