ในยุคที่ความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ การแสดงข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และองค์กรกลายเป็นสิ่งจำเป็น
‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ISO 14067’ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ว่าแต่คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ISO 14067 คืออะไร หาความหมายได้ในบทความนี้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ISO 14067 คือ ?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ISO 14067 คือ มาตรฐานการตรวจสอบปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นมาจากวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ที่สร้างขึ้นมา
โดยคำนวนจากรูปแบบ น้ำหนักเป็นกรัม, กิโลกรัม ,ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรเรียนรู้วิธีการคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ และช่วยให้เข้าใจสาเหตุที่ต้องการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ลงครับ
ทั้งนี้มาตรฐาน ISO 14067 ที่เกิดขึ้นจะถูกจัดการ และบริหารก๊าซเรือนกระจก โดยองค์การมหาชน (อบก.) หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (TGO) เป็น หน่วยงานที่ออกใบรับรองฉลาก CFP ครับ
ขอบเขตการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
ขอบเขตการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ จะแบ่งออกได้เป็น 2 ขอบเขต ดังนี้
1. การประเมินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ Business to Business (B2B)
จะคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบางส่วนที่เกิดขึ้นของวัฏจักรผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาของวัสดุ กระบวนการผลิต ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการขนส่งที่เกี่ยวข้อง และการเก็บรักษา เป็นอันเสร็จ
จะไม่รวมการประเมินผลกระทบในส่วนของการใช้งาน และการจัดการซากของเสียที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้าง
2. การประเมินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ Business to Consumer (B2C)
จะคํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาของวัสดุ กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน
ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน รวมถึงประเมินของเสีย และมลพิษในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากตัววัฏจักรผลิตภัณฑ์ครับ
ประโยชน์ของ Carbon footprint
นอกเหนือจากการทราบตัวเลขปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ยังก่อให้เกิดประโยชน์สำคัญอื่นๆ ดังนี้
- ผู้ประกอบการทราบถึงการปลดปล่อย GHGs ของผลิตภัณฑ์ของตนเอง
- กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ พัฒนาทุกขั ้นตอนของกระบวนการผลิตและการจัดงานเพื ่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- แสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ทีดี
- เป็นข้อมูลทางเลือกใหม่ในการตัดสินใจซื ้อสินค้าบริการและการเข้าร่วมงาน
- เพิ ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ขั้นตอนการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
สำหรับองค์กรที่ต้องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้
- คัดเลือกผลิตภัณฑ์
- เลือก Scheme
- ศึกษา/จัดทำ PCR
- กำหนด FU, ขอบเขต
- ทำผังการไหล/แผนภาพวัฏจักรชีวิต
- ระบุ input/output และคุณภาพข้อมูลที่ต้องการ
- สร้างแบบฟอร์มเก็บข้อมูล
- เก็บรวบรวมข้อมูล
- คำนวณ Input/output
- คำนวนณ CFP
- จัดทำไฟล์นำเสนอ
- ขอการรับรอง
กําหนดขอบเขตการประเมิน CFP
- Cradle to Gate หรือ Business to Business (B2B) : คํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบางส่วนของวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึงครอบคลุมตังแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดจนไปถึงขั้นการขนส่งทีเกียวข้องในทุกๆ ขั้นตอนสิ้นสุดที่ประตูโรงงาน โดยมีการคํานวณต่อหนึงหน่วยผลิตภัณฑ์ทีประกาศใช้
- Cradle to Grave หรือ Business to Consumer (B2C) : คํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึงครอบคลุมตังแต่ขั้นตอนการได้มาซึงวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า และการใช้งาน รวมไปถึงการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งานของตัวผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ขั้นตอน โดยมีการคํานวณต่อหนึ่งหน่วยหน้าที่การทํางานของผลิตภัณฑ์
การจัดทําข้อมูลบัญชีรายการของผลิตภัณฑ์
ข้อมูลบัญชีรายการ (Inventory data) ทีแสดงถึงปริมาณสารขาเข้า(Input) และสารขาออก (Output) รวมถึงรายการด้านสิงแวดล้อมทังหมดของการะบวนการผลิต/ผลิตภัณฑ์ทีเลือกศึกษา