สำหรับเจ้าของร้านอาหารหรือคาเฟ่ อาจให้ความสำคัญกับการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ดูดีและมีราคาที่เหมาะสม แต่เคยหยุดคิดหรือไม่ว่าในกระดาษห่อเบอร์เกอร์แผ่นสวย หรือกล่องใส่ของทอดที่ดูทนทานนั้น อาจมีภัยเงียบที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่
วันนนี้เราจึงจะพูดถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากสารเคมี PFAS ซึ่งคืออะไร อันตรายแค่ไหน หาคำตอบได้ในบทความนี้

หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
ทำความรู้จัก PFAS สารเคมีในบรรจุภัณฑ์
PFAS หรือสารเคมีตลอดกาลนั้นเป็นกลุ่มสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น มีคุณสมบัติพิเศษในการกันน้ำและกันไขมันได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยเหตุนี้เองผู้ผลิตจำนวนมากจึงนิยมนำมาใช้เคลือบบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อป้องกันความมันหรือซอสรั่วซึมออกมาจากตัวอาหาร ทำให้บรรจุภัณฑ์ดูสะอาดและน่าใช้ตลอดเวลา

แต่คุณสมบัติที่แข็งแกร่งทนทานนี้เองที่กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญ PFAS ได้รับฉายาว่าเป็น “สารเคมีตลอดกาล” (Forever Chemicals) เพราะโครงสร้างทางเคมีของมันแข็งแรงมากจนแทบไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ เมื่อมันเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือร่างกายของเรา มันจะคงอยู่และสะสมไปเรื่อยๆ
ดังนั้น แม้ PFAS จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่เปียกแฉะได้ดี แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ได้สร้างความกังวลด้านความปลอดภัยในระยะยาวขึ้นมาแทน เนื่องจากมีโอกาสที่สารเหล่านี้จะปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหารที่เราทานเข้าไปโดยตรง
อันตรายที่มาพร้อมความสะดวกสบาย
แม้จะมีประโยชน์ในด้านการใช้งาน แต่ PFAS กลับเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เมื่องบรรจุภัณฑ์ที่เคลือบสารเหล่านี้สัมผัสกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีความร้อน ความมัน หรือความเป็นกรดสูง สาร PFAS ก็จะค่อยๆ ปนเปื้อนเข้าไปในอาหารที่ลูกค้าของท่านรับประทาน

สารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไม่ถูกขับออกไปง่ายๆ แต่จะสะสมอยู่เป็นเวลานาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรงในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ตับและไต หรือแม้แต่เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งบางชนิด นี่จึงเป็นอันตรายจากภัยเงียบที่หลายคนไม่ทราบ
ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่คือความเชื่อมั่นของแบรนด์
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพและมองหาความโปร่งใสจากแบรนด์มากขึ้น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตรายแฝงอยู่จึงเปรียบเสมือนการทำลายความไว้วางใจของลูกค้าโดยไม่รู้ตัว
ยิ่งข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของ PFAS กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและปราศจากสาร PFAS จึงไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความแตกต่างและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค เพราะฉะนั้นการที่บรรจุภัณฑ์ของคุณนอกจากจะสวยงาม ดูดีแล้ว ยังสะอาด ปลอดภัยไร้สารเคมีเจือปนอีกด้วย ยิ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นของแบรนด์สูงมากขึ้น

แล้วเจ้าของร้านควรทำอย่างไรดี ?
ทางออกนั้นง่ายกว่าที่คิด เพียงแค่เริ่มต้นใส่ใจและตัดสินใจเลือกบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้อง โดยมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ระบุบนฉลากอย่างชัดเจนว่า “ปราศจาก PFAS” หรือ “PFAS-Free” หรือสอบถามผู้จำหน่ายหรือโรงงานผลิตเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารโดยตรง
เช่น มาตรฐานจาก มอก. 1141-2565 หรือ มอก.2948-2562 ซึ่งเป็นการยืนยันว่าบรรจุภัณฑ์นั้นปลอดภัยสำหรับการสัมผัสอาหารจริง

การลงทุนกับบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยอาจมีต้นทุนสูงกว่าเล็กน้อย แต่ขอให้ท่านมองว่ามันคือการลงทุนเพื่อปกป้องลูกค้า และเพื่อสร้างชื่อเสียงที่ยั่งยืนให้กับแบรนด์ของท่านเอง
เพราะท้ายที่สุดแล้ว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยก็ไม่ต่างจากการคัดสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุดมาปรุงอาหาร มันคือการแสดงความใส่ใจ คือความรับผิดชอบ และคือหัวใจสำคัญของการสร้างธุรกิจอาหารที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PFAS ในบรรจุภัณฑ์อาหาร
PFAS (อ่านว่า พี-ฟาส) คือกลุ่มสารเคมีที่มีคุณสมบัติพิเศษในการ กันน้ำและกันน้ำมัน ทำให้มันถูกนำมาใช้เคลือบบรรจุภัณฑ์อาหารอย่างแพร่หลาย เช่น กล่องพิซซ่า กล่องเบอร์เกอร์ หรือกระดาษรองของทอด เพื่อไม่ให้ไขมันหรือซอสซึมออกมา
ที่มันกลายเป็นประเด็นใหญ่เพราะ PFAS ได้รับฉายาว่า “สารเคมีตลอดกาล” (Forever Chemicals) เนื่องจากมันสลายตัวได้ยากมากในธรรมชาติและสามารถสะสมอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ เมื่อสะสมในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้
บรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับอาหาร มัน ร้อน หรือมีซอส มีความเสี่ยงสูงที่จะมีการเคลือบสาร PFAS
เมื่ออาหารร้อนหรือมันสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์ที่มี PFAS สารเคมีเหล่านี้สามารถ ปนเปื้อนสู่อาหาร และเข้าสู่ร่างกายของผู้บริโภคได้ การได้รับสาร PFAS สะสมเป็นเวลานาน มีงานวิจัยเชื่อมโยงกับความเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่าง
การดูด้วยตาเปล่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ
– สอบถามซัพพลายเออร์โดยตรง : ถามผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายว่าบรรจุภัณฑ์ที่สั่งซื้อ “ปลอดสาร PFAS” หรือไม่ และขอ เอกสารรับรอง (Certificate) หรือผลการทดสอบมายืนยัน
– มองหาสัญลักษณ์ : บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยมักจะมีคำว่า “PFAS-Free” หรือ “ปลอดสารเคมีฟลูออรีน” ระบุไว้
– เลือกบรรจุภัณฑ์ทางเลือก : มองหาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ปลอดภัยโดยธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย, PLA (พลาสติกชีวภาพจากข้าวโพด), หรือกระดาษที่ไม่ผ่านการเคลือบสารเคมีกันซึม
มีทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น
– บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย : แข็งแรง ทนความร้อนและไขมันได้ดี ย่อยสลายได้
– บรรจุภัณฑ์เคลือบด้วย PLA : เป็นพลาสติกชีวภาพทำจากพืช (เช่น ข้าวโพด) มีคุณสมบัติกันซึมได้ดี
– กล่องกระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) แบบไม่เคลือบ : เหมาะสำหรับอาหารแห้งๆ หรือไม่มันมาก
– กล่องพลาสติก PP (Food Grade) : เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้