พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) คือพลาสติกที่ถูกน้ำมาใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ตั้งแต่ ถุงพลาสติกจากร้านค้า กล่องพลาสติกจากร้านอาหาร หลอดพลาสติกจากร้านกาแฟ รวมถึงช้อน-ซ่อมพลาสติกที่ได้รับจากร้านอาหาร สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งทั้งนั้น
ด้วยความที่พลาสติกชนิดนี้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก ทำให้เกิดเป็นขยะจำนวนมหาศาล และสร้างเป็นมลภาวะทางขยะ ที่ส่งผลเสียทั้งสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และมนุษย์ วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงข้อมูลน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกชนิดนี้กันว่าทำไมถึงเป็นปัญหา และมีวิธีแก้ไขอย่างไร รวมถึงที่มาของพลาสติกที่ถูกใช้อยู่ในปัจจุบันครับ
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับพลาสติกใช้งานแล้วทิ้ง
พลาสติกที่ถูกสังเคราะห์ คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวเบลเยียมชื่อว่า Leo Baekeland ในปี ค.ศ. 1907 ณ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และต่อมาก็ได้ถูกนักเคมีอีกหลายๆ คนเข้ามามีบทบาท ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพลาสติกมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ Hermann Staudinger ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นบิดาแห่งเคมีพอลิเมอร์ และ Herman Mark ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งฟิสิกส์พอลิเมอร์
ต่อมาพลาสติกได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้เป็นวัสดุอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 20 และมีอัตราการใช้งาน รวมถึงความนิยมสูงขึ้นมาตลอด ถูกใช้งานมากถึงขนาดที่มีผลรายงานว่ามีการผลิตพลาสติกขึ้นมาในปี 2017 สูงถึง 348 ล้านตัน และถูกคาดการณ์ล่วงหน้าเอาไว้ว่ากำลังผลิตอาจจะสูงขึ้นเป็นสองเท่าตัวภายในปี 2040 อีกด้วย
พลาสติกผลิตขึ้นมาจากอะไร
พลาสติกที่ถูกนำมาใช้งานในปัจจุบัน จะได้มาจากสารประกอบไฮโรคาร์บอนขนาดเล็ก ถูกผลิตมาจากวัสดุสังเคราะห์ ที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือก๊าซธรรมชาติ ผ่านกระบวนการปิโตรเลียม เพื่อก่อให้เกิดโพลิเมอร์ที่มีปฏิกิริยาสายโซ่อตอมขนาดยาวกว่าพอลิเมอร์ที่หาได้จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน น้ำหนักน้อย และยืดหยุ่นได้ดี หลังจากนั้นโพลิเมอร์ที่ได้รับมาจากการผ่านกระบวนเหล่านี้จะถูกนำมาผสมเข้ากับสารเติมแต่งต่างๆ และสร้างเป็นพลาสติกครับ
พลาสติกมีกี่ชนิด
โดยทั่วไปแล้วพลาสติกที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความหลากหลายมากๆ แต่หากให้แยกชนิดของตัวพลาสติกจริง จะสามารถจำแนกออกได้เป็นสองชนิดด้วยกัน ได้แก่
1. เทอร์โมพลาสติก
เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) เป็นพลาสติกชนิดที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก เนื่องจากสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายก มีคุณสมบัติอ่อนตัวเมื่อเจอความร้อน และจะกลับมาแข็งตัวใหม่เมื่อเย็นตัวลงแล้ว ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของตัวมันได้ตามต้องการ โดยเทอร์โมพลาสติกชนิดนี้ยังจะสามารถจำแนกออกเป็นพลาสติกชนิดต่างๆ ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันออกเป็น 9 ชนิด ด้วยกัน ดังนี้
- โพลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) : เป็นพลาสติกชนิดเรซินสังเคราะห์มีน้ำหนักเบา มีลักษณะขุ่น ทนความร้อนได้ระดับหนึง อากาศและไอน้ำสามารถซึมผ่านได้ ถือเป็นพลาสติกที่ถูกผลิตใช้งานกันมากที่สุดในโลก
- โพลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) : เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงกว่าชนิดพอลิเอทิลีน และทนทานต่อความร้อนสูง มักนิยมใช้เพื่อทำเป็นถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน หรือหลอดดูดพลาสติก เป็นต้น
- โพลิสไตรีน (Polystyrene: PS) : เป็นพลาสติกชนิดโปร่งใส ทนทานต่อกรดและด่าง นิยมนำมาใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้สำนักงานต่างๆ
- SAN (styrene-acrylonitrile) : เป็นพลาสติกโปร่งใสอีกชนิด นิยมใช้ผลิตชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นต้น
- ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene) : เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวสูง ลักษณะโปร่งใส กว่าพลาสติกพอลิสไตรีน นิยมใช้ผลิตเป็นถ้วย ถาดใส่อาหารเป็นต้น
- โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC) : มีความสามารถป้องกันไขมันได้ดี ตัวพลาสติกมีลักษณะใส นิยมใช้ทำขวดบรรจุน้ำมัน ขวดปรุงอาหาร ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ เป็นต้น
- ไนลอน (Nylon) : เป็นพลาสติกชนิดที่มีความเหนียวมาก ทนทานต่อการเพิ่มอุณหภูมิได้ดี นิยมนำไปใช้ทำเป็นแผ่นแลมิเนต สำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศนั่นเอง
- โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) : เป็นพลาสติกราคาแพง มีคุณสมบัติเหนียว แน่น โปร่งใส่ เหมาะสำหรับรองรับอาหาร ทำให้ถูกนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารต่างๆ
- โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) : ตัวพลาสติกมีลักษณะโปร่งใส แข็งแรง ทนทานต่อแรงยึด และแรงกระแทกได้ดี มีความสามารถทนทานต่อความร้อน และกรดได้ ทำให้นิยมใช้ได้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ
2. เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก
เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่แตกต่างจากชนิดแรกด้วยความที่ตัวมันสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี ทำให้เกิดเป็นคราบ หรือรอยเปื้อนได้ยาก สามารถคงรูปเอาไว้ได้ด้วยกระบวนการความร้อน หรือแรงดัน ซึ่งเมื่อมีสถานะคงรูปแล้วจะไม่สามารถอ่อนตัว เปลี่ยนรูปร่างและรูปทรงได้อีก หากโดนความร้อนจะไม่ก่อให้ตัวพลาสติกยืดยุ่นแต่จะแตกหัก และไหม้เป็นขี้เถ้าแทน
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้มันมีลักษณะแข็ง ทนทานมากกว่าพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก หากต้องการดัดรูปทรง หรือปรับเปลี่ยนรูปร่างของตัวมันจำเป็นจะต้องใช้ความร้อนสูง พร้อมทั้งด้วยแรงการอัดร่วมด้วย พลาสติกชนิดนี้สามารถจำแนกออกเป็นพลาสติกชนิดต่างๆ ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันออกเป็น 5 ชนิด ด้วยกัน ดังนี้
- เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) : พลาสติกชนิดทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้สูง และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี ไม่เกิดคราบและรอยเปื้อน นิยมใช้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องครัว พื้นกระเบื้อง และวัสดุเคลือบผิวในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เป็นต้น
- ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) : พลาสติกชนิดทนทานความร้อนได้สูงถึง 250 องศา ทนทานต่อสารละลาย ป้องกันน้ำ และความชื้นได้ดี นิยมนำไปใช้เป็น อุปกรณ์ทางเคมี อุปกรณ์ในด้านอุตสาหรรม และอุปกรณ์ในครัวจำพวก หูหม้อ, ด้ามมีดเป็นต้น
- อีพ็อกซี (epoxy) : พลาสติกชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือน หรือใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ เซรามิก ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ ท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เพื่อเคลือบผิวถนนกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง และใช้เป็นสารในการทำสีของแก้วเป็นต้น
- โพลิเอสเตอร์ (polyester) : เป็นพลาสติกที่เป็นมิตร ผ่านการตรวจสอบว่าปลอดภัยกับอาหาร ทำให้นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงถูกนำไปใช้เป็นเส้นใยเสื้อผ้าด้วย
- โพลิยูรีเทน (polyurethane) : เป็นพลาสติกชนิดที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานทดแทนยางธรรมชาติ และมักถูกใช้ในการผลิตกระดาษ ก๊าซมัสตาร์ด หรือใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก
ข้อดีของบรรจุภัณฑ์ชนิดพลาสติก
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีราคาที่ค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์กระดาษ
- ตัวพลาสติกมีคุณสมบัติเหนียว ยืดหยุ่น เบา และน้ำหนักได้ดี
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่นำความร้อน และกระแสไฟฟ้า
- ตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาส และน้ำได้ดี ทำให้สามารถนำไปใส่อาหารชนิดต่างๆ เพื่อคงสภาพของอาหารไว้ได้
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถทนทานต่อความชื้น และไม่เป็นสนิม
- สามารถพิมพ์ลวดลาย และ Logo หรือแบรนด์ลงบนตัวบรรจุภัณฑ์ได้
- มีขนาดและรูปทรงที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ
ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ชนิดพลาสติก
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นโดยไม่ได้มาตรฐานพอ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีต่อพัสดุ สินค้า หรืออาหารภายในตัวบรรจุภัณฑ์ได้
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกบางชนิดแตกหักได้ง่าย และอาจจะไม่เหมาะสำหรับการรองรับพัสดุ สินค้า หรืออาหารบางประเภท
- หากบรรจุภัณฑ์โดนความร้อนสูง หรือถูกเผาไหม้เพื่อทำลายจะก่อให้เกิดสาร 2 ชนิดคือ สไตรีน (Styrene) และเบนซีน (Benzene) ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพดังนี้
- สารเบนซีน (Benzene) เมื่อร่างกายได้รับสารชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายในช่วงแรกจะเกิดอาการซึม วิงเวียน คลื่นไส้ ใจสั่น และหมดสติ และยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
- สารสไตรีน (Styrene) เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะทำลายฮอร์โมนในร่างกาย มีผลต่อระบบประสาทเม็ดเลือดแดง ตับ และไต
- กล่องโฟมใส่อาหารเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่า เนื่องจากตัวกล่องโฟมไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกส่งผลให้เกิดมลภาวะทางขยะ และส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สัตว์ป่า และผู้คน
- ตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้เวลาย่อยสลายยาวนานกว่า 300 ปี
บรรจุภัณฑ์ที่เข้ามาทดแทนการใช้พลาสติก
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นกล่องโฟม กล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงก๊อบแก๊บ สิ่งเหล่านี้ล้วนย่อยสลายได้ยาก ใช้เวลานาน และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติด้วย นอกเหนือจากนั้นจะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้ทั่วโลกต่างรณรงค์ให้ลดการใช้ถุงพลาสติกลงเพื่อลดผลกระทบที่ได้รับจากขยะที่เกิดมาจากพลาสติก
ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ๆ จึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนการใช้งานพลาสติกให้น้อยลง ที่เห็นได้ทั่วๆ ไป จะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากธรรมชาติอย่างเช่น เยื่อกระดาษที่ถูกนำมาผลิตเป็นกล่องกระดาษใส่อาหาร เพื่อที่ตัวกล่องจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ด้วยคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และมีขึ้นตอนการทำลายหรือ Reuse นำมาใช้งานได้สะดวก ไม่ก่อเป็นมลภาวะทางอากาศเมื่อโดนความร้อน หรือเผาไหม้ซึ่งแตกต่างจากพลาสติกที่หากนำไปทำลายหรือเผาไหม้แล้วนั้นจะก่อให้เกิดก๊าซสไตรีน (Styrene) ที่สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและปอดได้ และส่งผลเสียในด้านสุขภาพอื่นๆ ด้วย
นอกจากนี้หากสังเกตบรรจุภัณฑ์ชนิดกระดาษยังจะช่วยส่งเสริมด้านภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ ร้านค้า ร้านอาหารของคุณได้ รวมถึงตัวบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาจากเยื่อกระดาษนั้นจะมีพื้นผิวที่เรียบเนียน ทำให้สามารถพิมพ์ลวดลายต่างๆ ลงไปบนบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในการโฆษณาแบรนด์ธุรกิจ หรือเขียนข้อความข้อมูลโภชนาการลงข้างกล่อง หรือในกรณีที่อยากเพิ่มความสวยงามก็สามารถออกแบบลวดลายต่างๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย
ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายนี้ ทำให้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษจะถูกพบเห็นได้บ่อยครั้งในปัจจุบัน และร้านค้า ร้านอาหารดังๆทั่วโลกต่างนิยมนำบรรจุภัณฑ์กระดาษมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์แบบเก่าๆ แล้วทั้งนั้น หากคุณสนใจในตัวบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ สามารถเข้าชมได้ที่ hongthaipackaging.com/shop/
สรุป
พลาสติกสามารถแบ่งแยกออกมาได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ เทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซตติ้งพลาสติก ซึ่งทั้งสองชนิดก็ยังแบ่งแยกออกได้อีกเป็นหลายๆ ชนิดด้วยกัน ทำให้สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพียงแต่ตัวพลาสติกเองก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสียในตัวของมันเอง
รวมถึงในปัจจุบันเราพบจำนวนขยะที่เกิดขึ้นจากพลาสติกจำนวนมากที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกที่ พลาสติกที่ถูกใช้งานแล้วทิ้งเหล่านั้นยังก่อปัญหาอย่างมากให้กับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สัตว์ป่า และผู้คน จากภาวะขยะล้นโลกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานแทนพลาสติกแบบเก่าๆ ซึ่งที่นิยมใช้และพบเห็นกันบ่อยครั้งคือบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ hongthaipackaging.com/shop/
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
13 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
29 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
8 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
121 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
73 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
20 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
209 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
16 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า