หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
บรรจุภัณฑ์กระดาษสัมผัสอาหารที่ได้มาตรฐานต้องมีอะไรบ้าง
- มีเครื่องหมาย มอก 2948-2562 ที่ตัวภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน
- ตัวบรรจุภัณฑ์ต้องสะอาด ไม่มีข้อบกพร่องใด เช่น ฉีกขาด เป็นรู มีรอยยับ ย่น คราบสกปรก และไม่มีกลื่นที่ไม่พึงประสงค์บนตัวบรรจุภัณฑ์
- สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเป็นแบบ Food Grade และต้องมีปริมาณไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
- มีฉลากระบุชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภท ชนิด ขนาด ปริมาณบรรจุ และมีข้อมูลประกอบวิธีใช้ เช่น ใช้ได้ครั้ง, ห้ามใช้ซ้ำ, ห้ามวางไว้ใกล้เปลวไฟ. ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์กระดาษ หงส์ไทยฯ พร้อมก้าวสู่มาตรฐาน มอก. 2948-2562
ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Food Paper Packaging ของ หงส์ไทยฯ กำลังเข้าสู่กระบวนการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2948-2562 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดคุ
ทำไม มอก. 2948-2562 ถึงสำคัญ ?
- ปลอดภัยต่ออาหาร – วัสดุที่ใช้ต้องผ่
านมาตรฐานความปลอดภัย ปราศจากสารอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารเคมีตกค้างอื่นๆ - มาตรฐานความสะอาด – ต้องผลิตภายใต้หลักเกณฑ์ GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสารปนเปื้
อน - รองรับการใช้งานหลากหลาย – กระดาษสัมผัสอาหารสามารถใช้ได้
ทั้งกับอาหารร้อน อาหารเย็น และอาหารทั่วไป - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม – สามารถเลือกได้ทั้งแบบ เยื่อบริสุทธิ์ (Virgin Pulp) และ เยื่อรีไซเคิล (Recycled Pulp) ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย
เรามุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้
สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ HOTLINE: 062-552-5224
ช้อปออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่: www.hongthaipackaging.com
มาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของ กระดาษสัมผัสอาหาร
มาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของ กระดาษสัมผัสอาหาร จะแบ่งออกได้ 10 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1. ขอบข่ายของผลิตภัณฑ์
ข้อแรกของมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คือ ขอบข่ายของผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากอุตสาหกรรม แบ่งออกได้เป็นสองขอบข่าย ดังนี้
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของกระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษที่ไม่ใส่สีในเนื้อกระดาษ สำหรับใช้กับอาหารทั่วไปและอาหารบรรจุขณะร้อน (hot-fill) ทั้งที่สัมผัสอาหารโดยตรงและไม่สัมผัสอาหารโดยตรง ที่มีโอกาสเกิดการย้ายที่ของสารเคมี (migration) ไปสู่อาหาร
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ไม่ครอบคลุมกระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษที่ใช้กรองของเหลวร้อนและใช้อุ่นหรือปรุงสุกอาหาร
2. บทนิยามมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มีดังต่อไปนี้
- กระดาษสัมผัสอาหาร หมายถึง กระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษ ที่มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้ห่อหุ้ม บรรจุรวบรวม หรือรองรับอาหาร
- ภาชนะกระดาษ หมายถึง ภาชนะซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับอาหาร เช่น จาน ชาม ถาด ถ้วย กล่อง ถุง ที่ทำจากกระดาษหรือกระดาษแข็ง รวมถึงภาชนะทำจากเยื่อกระดาษ (molded pulp article)
- การบรรจุขณะร้อน หมายถึง การบรรจุอาหารใด ๆ ลงในภาชนะ โดยขณะบรรจุอาหารมีอุณหภูมิไม่เกิน 100 °C และอุณหภูมิลดลงเหลือไม่เกิน 50 °C ภายในเวลา 60 min หรืออุณหภูมิลดลงเหลือไม่เกิน 30 °C ภายในเวลา 150 min
- กระดาษที่ใช้กรองของเหลวร้อน หมายถึง กระดาษ กระดาษแข็ง หรือภาชนะกระดาษซึ่งทำหน้าที่กรองของเหลวร้อน เช่น ถุงชา กระดาษกรองกาแฟ
- กระดาษที่ใช้อุ่นหรือปรุงสุกอาหาร หมายถึง กระดาษ กระดาษแข็ง หรือภาชนะกระดาษ ที่ใช้ในการอุ่นหรือปรุงสุกอาหารในเตาอบหรือเตาไมโครเวฟ
- ภาชนะทำจากเยื่อกระดาษ หมายถึง ภาชนะที่เกิดจากการขึ้นรูปเยื่อกระดาษเป็นภาชนะแล้วนำไปทำให้แห้ง
- เยื่อบริสุทธิ์ (virgin pulp) หมายถึง เยื่อซึ่งทำจากเส้นใยพืชที่ยังไม่เคยใช้ทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มาก่อน
- เยื่อเวียนทำใหม่ (recycled pulp) หมายถึง เยื่อซึ่งได้จากกระดาษ กระดาษแข็ง ภาชนะกระดาษที่ใช้แล้วหรือเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูปกระดาษ กระดาษแข็ง หรือภาชนะกระดาษ ที่ผ่านกระบวนการเวียนทำใหม่ ได้แก่การกระจายเยื่อ การล้างเยื่อ การทำความสะอาดเยื่อ
- สารเคมีในกระบวนการผลิต หมายถึง สารเคมีทุกชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิต ใช้ปรับปรุงคุณสมบัติเดิมของกระดาษหรือเพิ่มคุณสมบัติใหม่ให้กับกระดาษ เช่น สารเติมแต่งเชิงหน้าที่ (functional additive) และสารช่วยในกระบวนการผลิต (production aid) รวมถึงสารที่ช่วยเสริมการทำงานของสารเติมแต่งเชิงหน้าที่ สารที่ใช้ทำความสะอาดระบบเครื่องจักรผลิตกระดาษสัมผัสอาหาร
- วัสดุเคลือบ (coating material) หมายถึง วัสดุหรือสารเคมีซึ่งใช้สำหรับเคลือบหรือประกบบนผิวกระดาษสัมผัสอาหารด้านที่สัมผัสอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น วิธีลามิเนต (laminate) วิธีเคลือบ (coated) วิธีอัดรีด (extrusion)
- วัสดุยึดติด (adhesive material) หมายถึง วัสดุหรือสารเคมีซึ่งทำหน้าที่ยึดติดหรือผสานชั้นวัสดุเคลือบกับชั้นกระดาษหรือระหว่างชั้นกระดาษให้ติดกัน รวมถึงวัสดุที่ใช้ยึดติดในกระบวนการขึ้นรูปภาชนะกระดาษ
3. ประเภทและชนิดของกระดาษ
กระดาษสัมผัสอาหาร แบ่งตามเยื่อกระดาษที่ทำออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกันได้แก่
- ประเภทเยื่อบริสุทธิ์
- ประเภทเยื่อเวียนทำใหม่
กระดาษสัมผัสอาหาร แต่ละประเภทแบ่งตามการใช้งานเป็น 2 แบบ คือ
- แบบแผ่นเพื่อการแปรรูป
- แบบภาชนะ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดทำจากเยื่อกระดาษ และชนิดทำจากกระดาษแบบแผ่นเพื่อการแปรรูป
4. ขนาดและความจุ
กรณีเป็นกระดาษสัมผัสอาหารแบบแผ่นเพื่อการแปรรูป แบ่งได้สองอย่าง คือ
กรณีเป็นม้วน
- ความกว้างของม้วนกระดาษสัมผัสอาหารต้องเป็นไปตามที่ ระบุบนฉลาก
กรณีเป็นแผ่น
- ความกว้างและความยาวของกระดาษสัมผัสอาหารต้องเป็นไปตามที่ ระบุบนฉลาก
กรณีเป็นกระดาษสัมผัสอาหารแบบภาชนะ
- ขนาดต่าง ๆ ที่ระบุบนฉลาก เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ต้องเป็นไปตามที่ระบุบนฉลาก โดยจะมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ±5 mm การทดสอบให้ใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมและละเอียดถึง 1 mm
- ความจุระบุ (ในกรณีที่ระบุความจุ) ต้องไม่น้อยกว่าที่ ระบุไว้ที่ฉลาก การทดสอบใหปฏิบัติตามข้อกำหนด
5. วัสดุที่นำมาใช้
เยื่อกระดาษและกระดาษ ที่นำมาเป็นวัสต้องเป็นประเภทเยื่อบริสุทธิ์ 100% หรือ หากเป็นแบบ เยื่อเวียนทำใหม่ ก็ต้องเป็นเยื่อเวียนทําใหม่ที่ไม่ได้ทํามาจากหรือมีส่วนผสมของกระดาษดังต่อไปนี้
- กระดาษที่มาจากสถานพยาบาล
- กระดาษที่ผสมขยะมูลฝอย
- กระดาษสอบ หรือกระดาษถุงที่มีการปนเปื้อนสารเคมี
- กระดาษที่ใช้คลุมและห่อหุ้มวัสดุอื่นๆ
- กระดาษคาร์บอน
- กระดาษอนามัยที่ใช้แล้ว จำพวกกระดาษเช็ดหน้า
6. คุณลักษณะที่ต้องการ
คุณลักษณะที่ต้องการจะแบ่งออกได้ สองชนิดด้วยกัน ได้แก่
คุณลักษณะทั่วๆ ไป
- ต้องสะอาด ไม่มีข้อบกพร่องต่อการใช้งาน เช่น ฉีกขาด เป็นรูแตก ยับ ย่น คราบสกปรก คราบหมึก กลิ่นที่ไม่พึงประสงค
- กรณีที่มีหมึกพิมพ์หมึกพิมพ์ต้องไม่สัมผัสกับอาหารโดยตรง การทดสอบให้ทําโดยการตรวจพินิจ
คุณลักษณะทางเคมี
- กระดาษสมผัสอาหารประเภทเยื่อบริสุทธ
- กระดาษสมผัสอาหารประเภทเยื่อเวียนทําใหม
7. สุขลักษณะ
สุขลักษณะที่ดีสําหรับการผลิตกระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษสัมผัสอาหาร ต้องได้รับการรับรองหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตกระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษสัมผัส อาหาร (Good Manufacturing Practice, GMP) ผู้ทําต้องแสดงเอกสารรับรอง
8. การบรรจุ
ให้ห่อหุ้มหรือบรรจุกระดาษสัมผัสอาหารแต่ละหน่วยในภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและสามารถปองกัน การปนเปื้อนจากภายนอกได้เข้าสู่ภายในได้ การทดสอบขั้นตอนนี้ให้ทําโดยการตรวจพินิจ
9. เครื่องหมายและฉลาก
กรณีเป็นกระดาษสัมผัสอาหารแบบแผ่นเพื่อการแปรรูปที่หน่วยบรรจุกระดาษสัมผัสอาหารแต่ละหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียด ดังต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย และชัดเจน
- ชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้หรือชื่ออื่นที่สื่อความหมายว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้
- ประเภท และแบบ
- ขนาด
- ปริมาณบรรจุ
- ประเภทอาหารที่ใช้หรือห้ามใช้กับกระดาษสัมผัสอาหารนี้ และอุณหภูมิสูงสุดในการบรรจุอาหาร เช่น เหมาะสําหรับอาหารที่มีกรด ห้ามใช้กับอาหารที่มีไขมันเป็นต้น
- สัญลักษณ์แสดงว่าสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่มีลักษณะและสัดส่วน ตามภาคผนวก ง. หรือแสดงข้อความ “ใช้สัมผัสอาหารได้”
- เดือน ปีที่ทํา และรหัสรุ่นที่ทํา
10. การชักตัวอย่าง
การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน ให้เป็นไปตามภาคผนวก ก.
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
21 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
25 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
8 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
120 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
73 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
20 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
190 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
16 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
47 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า