แม้จะมีการรณรงค์ให้เห็นถึงอันตรายจาก บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ทำจากโฟม และมีการผลิตภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ ประเภทต่างๆ เช่น กล่องกระดาษลูกฟูก ชามกระดาษ กล่องข้าวกระดาษ แก้วกระดาษ แผงไข่กระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์กระดาษที่สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็นมาใช้ทดแทนกล่องโฟม ช่วยให้ปัญหาขยะจากกล่องโฟมลดน้อยลง แต่อันตรายจากกล่องโฟมก็ยังป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องทำความเข้าใจ อันตรายจากกล่องโฟม และสารสไตรีนจากกล่องโฟม
กล่องโฟมผลิตจากอะไร
“โฟม” หมายถึง พลาสติกชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการทำให้พลาสติกฟูหรือขยายตัวโดยใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) โฟมพลาสติกที่ได้จะถูกนำมาผลิตเป็นกล่องโฟมต่างๆ เช่น กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น กล่องโฟมสำหรับเก็บความเย็น หรือผลิตเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อรักษาคุณภาพและป้องกันความเสียหายจากการกดทับหรือกระแทก ตัวอย่างเช่น กล่องพืชผักหรือผลไม้และดอกไม้ต่างๆ
กล่องโฟมแต่ละชนิด มีคุณภาพที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพลาสติกที่นำมาผ่านกระบวนการทำให้พลาสติกฟูหรือขยายตัว และกล่องโฟมส่วนหนึ่งผลิตจากพลาสติกที่ได้มาจากของเสียเหลือทิ้งลักษณะสีดำจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตเลียม
อันตรายจากกล่องโฟม และสารสไตรีนจากกล่องโฟม
กล่องบรรจุภัณฑ์หรือกล่องโฟมที่ผลิตจากพลาสติกที่ได้จากของเสียที่มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีส่วนประกอบของสารประเภทโพลีสไตรีน (Polystyrene: PS) เมื่อนำไปบรรจุอาหาร หากเกิดปฏิกิริยาและปนเปื้อนกับอาหารก็จะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมไปถึงการเผาทำลายยังเป็นการกำจัดขยะโฟมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมา อันตรายจากกล่องโฟมและสารสไตรีนจากกล่องโฟม ได้แก่
- กล่องอาหารหรือบรรจุภัณฑ์จากกล่องโฟม เมื่อได้รับความร้อนสูงจะให้สาร 2 ชนิดคือ สไตรีน (Styrene) และเบนซีน (Benzene) ผลข้างเคียงจากสารสไตรีนและเบนซีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้
- สารเบนซีน (Benzene) เมื่อร่างกายได้รับสารชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายในช่วงแรกจะเกิดอาการซึม วิงเวียน คลื่นไส้ ใจสั่น และหมดสติ และยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
- สารสไตรีน (Styrene) เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะทำลายฮอร์โมนในร่างกาย มีผลต่อระบบประสาทเม็ดเลือดแดง ตับ และไต
- การนำบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทำจากโฟมไปบรรจุอาหารที่ร้อนจัดหรืออาหารที่ทำให้สุกด้วยการทอดในน้ำมัน จะเกิดปฏิกิริยาทำให้สารอันตรายได้แก่ สารเบนซีน (Benzene) ปนเปือนมาในอาหาร หากทานบ่อยๆหรือมีปริมาณปนเปื้อนสูง จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะและคลื่นไส้ และอาจทำให้เสียชีวิตได้หากมีอาการที่รุนแรง
- การเผาทำลายบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ประเภทกล่องโฟม นอกจากเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การสูดดเข้าไปจะมีอาการไอและหายใจลำบาก หากสารสไตรีนสัมผัสผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้รู้สึกระคายเคือง
อันตรายจากกล่องโฟม และสารสไตรีนจากกล่องโฟมเป็นอันตรายใกล้ตัว และเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพและสังคมส่วนรวม หากผู้ประกอบการและผู้บริโภคเข้าใจจึงพิษภัยเพียงลดละเลิกและหลีกเลี่ยงการใช้ โดยเลือกใช้กล่องกระดาษ แก้วกาแฟกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆที่ได้จากธรรมชาติทดแทน อันตรายจากกล่องโฟมก็ลดน้อยหรือทำให้หมดไปได้
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
2 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
24 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
9 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
122 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
75 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
21 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
138 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
27 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
19 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า