การจัดส่งสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ การบรรจุหีบห่อหรือแพ็คของลงกล่องไปรษณีย์อย่างมืออาชีพ ช่วยปกป้องสินค้าไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายระหว่างขั้นตอนการส่ง ทำให้สินค้าส่งถึงมือลูกค้าได้อย่างปลอดภัย สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจสงสัยว่าการแพ็ค กล่องไปรษณีย์ อย่างมืออาชีพควรทำอย่างไร ไม่ต้องกังวลใจเพราะบทความนี้ Hongthaipackaging มี 10 วิธีมาแนะนำ
10 วิธีแพ็คกล่องไปรษณีย์ ทำให้สินค้าถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย
1.เลือกกล่องสำหรับจัดส่งสินค้า
กล่องสำหรับใช้จัดส่งสินค้ามีหลายขนาด คุณสมบัติของกล่องไปรษณีย์แต่ละประเภทเหมาะกับสินค้าแตกต่างกัน ดังนั้นมาตรฐานของกล่องที่นำมาใช้จึงขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบที่ผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาก่อนเลือกใช้ เริ่มจากขนาดและน้ำหนักของสินค้าชนิดของสินค้าฤดูกาล และสภาพอากาศ ระยะทางในการขนส่ง จัดส่งสินค้าภายในประเทศหรือส่งไปต่างประเทศ ความสำคัญของการเลือกกล่องเพื่อจัดส่งสินค้า นอกจากปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าแล้วยังมีผลต่อต้นทุนสินค้าเนื่องจากราคากล่องแตกต่างกันรวมถึงค่าจัดส่งก็แตกต่างกันตามน้ำหนักและขนาดของสินค้า
2.พิจารณารูปทรงและลักษณะของสินค้า
การแพ็คสินค้าเมือเลือกใช้กล่องไปรษณีย์ที่มีขนาดและคุณสมบัติเหมาะสมกับสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องของการแพ็คหรือหีบห่อสินค้า หากสินค้าที่จัดส่งเป็นของมีคมที่ไม่ผิดกฎหมาย เช่น เครื่องมือทำการเกษตร หรือบรรจุภัณฑ์สินค้าเป็นขวดแก้วที่ชำรุดและแตกหักได้ง่าย การแพ็คสินค้าลงกล่องควรใส่โฟมกันกระแทกไว้คตรงส่วนที่แหลมคม และห่อหุ้มด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือจะเป็นพลาสติกกันกระแทกในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันการกระแทกหรือทิ่มแทงกล่องทำให้สินค้าหรือกล่องชำรุดเสียหายก่อนที่จะถึงมือลูกค้า
3.เพิ่มความแน่นหนากรณีสินค้าเป็นของเหลว
สินค้าที่จัดส่งทางไปรษณีย์มีหลายประเภท รวมถึงสินค้าที่เป็นของเหลว เช่น น้ำหอม ครีม เจล หรือน้ำมันที่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นขวดแก้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกหักหรือชำรุดระหว่างกระบวนการนำส่ง ก่อนแพ็คสินค้าลงกล่องควรใส่ถุงพลาสติกที่มีซิปล็อคอีกหนึ่งชั้น รวมทั้งใส่วัสดุกันกระแทกเพื่อป้องกันการกดทับหรือไม่ให้มีพื้นที่ว่างเพราะอาจทำให้บรรจุภัณฑ์กระแทกกันเองกรณีบรรจุสินค้ามากกว่า 1 ชื้น
4.ปิดผนึกฝากล่องให้แน่นหนา
เมื่อบรรจุสินค้าลงกล่องไปรษณีย์เรียบร้อยแล้ว ควรปิดผนึกฝากล่องให้แน่นหนาทุกด้าน กรณีเลือกใช้กล่องฝาชนวิธีปิดผนึกฝากล่อง ให้แปะเทปกาวบริเวณช่องกลางระหว่างฝากล่องทั้งสอฃด้านมาบรรจบกัน จากนั้นให้ใช้เทปกาวแปะตรงขอบกล่องพัสดุทั้งสองด้านโดยแปะยาวลงมา เมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะเป็นรูปตัว H และที่สำคัญเทปกาวให้ใช้แบบหนาและใหญ่จะช่วยครอบคลุมพื้นที่ในการยึดติดได้ดียิ่งขึ้น
5.ติดป้ายหรือสติกเกอร์เตือนเพื่อป้องกันความเสียหาย
หากสินค้าที่จัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ เป็นสิ่งของที่ชำรุดหรือแตกหักง่ายมีความบอบบาง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดส่งอาจติดป้ายหรือสติกเกอร์เตือนไว้ที่หน้ากล่องไปรษณีย์เช่น “ระวังแตก” ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายและทำให้ระมัดระวังความเสียหายระหว่างการขนส่งมากขึ้น
6.เขียนรายละเอียดหน้ากล่องให้เรียบร้อยชัดเจน
การจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ พนักงานที่ทำการจัดส่งจะคุ้นเคยกับรูปแบบจ่าหน้ากล่องที่เป็นมาตรฐานเช่น ระบุชื่อผู้ส่งไว้มุมกล่องด้านซ้ายและระบุชื่อผู้รับไว้มุมกล่องด้านล่างขวามือ กรณีไม่ได้เขียนลงตามแบบฟอร์มหน้ากล่องแต่เป็นการพิมพ์ลงกระดาษแล้วนำมาติดแปะ นอกจากระบุข้อมูลผู้รับผู้ส่งไว้อย่างถูกต้องชัดแจนแล้วควรเขียนให้ถูกแบบฟอร์มเพื่อช่วยให้การจัดส่งรวดเร็วยิ่งขึ้น
7.ใส่เบอร์โทรศัพท์ทั้งผู้รับและผู้ส่ง
การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ คือช่องทางการติดต่อที่ทำได้สะดวกและรวดเร็ว สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรเขียนเบอร์โทรศัพท์ทั้งของผู้รับและผู้ส่งไว้ที่หน้ากล่องทุกครั้งหรืออาจใส่ข้อมูลอื่นๆเช่นชื่อร้านหรือชื่อเพจชื่อเว็บไซต์ (หากสะดวก)ไว้ที่หน้ากล่อง ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกทำให้การจัดส่งรวดเร็วและป้องกันสินค้าสูญหายได้
8.ซื้อประกันลดความเสี่ยง
กรณีพัสดุเป็นสินค้ามีมูลค่าและเสี่ยงต่อการแตกหัก นักธุรกิจออนไลน์หรือผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการซื้อวงเงินการรับประกันเพื่อประกันความเสี่ยง เช่น การส่งทาง EMS สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ซึ่งผู้ที่เป็นตัวกลางส่งของให้มักจะมีเงื่อนไขในการรับผิดชอบความเสียหายของพัสดุและการซื้อประกันเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทที่ได้กำหนดไว้ เป็นมาตรฐาน
9.ถ่ายรูปกล่องพัสดุแจ้งลูกค้าทุกครั้ง
การจัดส่งสินค้า นอกจากแจ้งเลขพัสดุให้กับลูกค้าซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ทำกันอยู่แล้ว การถ่ายรูปกล่องพัสดุหรือกล่องไปรษณีย์ที่จัดส่งให้ลูกค้ายังป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจัดส่ง เช่น กล่องชำรุดเสียหาย สภาพกล่องแตกหรือมีรอยฉีกขาด
10.ติดตามสินค้าว่าถึงมือลูกค้าแล้วหรือยัง
การจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ มีหลายวิธีเมื่อจัดส่งแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะทราบกำหนดระยะเวลาว่าสินค้าจะส่งถึงมือลูกค้าได้ภายในกี่วัน การติดต่อกับลูกค้าเพื่อติดตามว่าสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้วหรือยัง เป็นการสร้างความชื่อมั่นและสามารถสร้างความพึงพอใจในบริการหลังการขายได้อีกทางหนึ่งด้วย