พลาสติกที่ถูกนำมาใช้งานครั้งเดียวแล้วทิ้งนั้นเป็นภัยต่อธรรมชาติ สัตว์ป่า มนุษย์ และโลกเราโดยตรง ซึ่งในทุกๆปีนี้มีการผลิตขึ้นมามากกว่า 462 ตัน ถึงแม้ว่าพลาสติกเหล่านี้จะมีประโยชน์ แต่ 90% ของพลาสติกาที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นก่อให้เกิดผลพิษต่อโลกของเรา นี่จึงทำให้ในเดือนมินาคม 2565 สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ทำการจัดประชุมที่กรุงไรโรบี แคนนาดา เพื่อบอกเล่าถึงปัญหาและวิกฤตจากพลาสติกทั่วโลก นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของทางกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเนื้อใจความจะพูดถึงเรื่องสนธิสัญญาดังต่อไปนี้
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
สนธิสัญญา (Global treaty on plastic) คือ ?
สนธิสัญญา (Global treaty on plastic) คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เข้ามานำเสนอวิธีแก้ไขวิกฤตมลพิษจากพลาสติกทั่วโลก โดยสนธิสัญญานี้มีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษทางพลาสติกให้ลดลง ถูกเห็นชอบจากกว่า 175 ประเทศท่วทั้งโลก มีมติให้รับรองสนธิสัญญาระดับโลกเกี่ยวกับมลพิษทางขยะพลาสติก ทั้งนี้สนธิสัญญานี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ในด้านกฎหมายในปัจจุบัน แต่มีการวางแผนงานเพื่อที่จะนำมาใช้งานแล้ว โดยระบบแผนการกำจัดพลาสติกขององค์การสหประชาชาติมีชื่อเรียกว่า System change scenario เป็นระบบที่จะมุ่งเน้นไปที่การลสขยะที่เกิดจากพลาสติกลงให้ได้ 80% จากปัจจุบัน โดยตัวระบบมีพื้นฐานในการจัดการขยะพลาสติกอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
- การใช้ซ้ำ (Reuse)
- การนำไปรีไซเคิล (Recycle)
- การปรับเปลี่ยนแปลงวัสดุ และค้นหาวัสดุชนิดอื่นๆเพื่อมาทดแทนพลาสติก
- การจัดเก็บขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิล และใช้ซ้ำได้
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าแผนงานการลดขยะพลาสติกจะถูกออกแบบมาดีแค่ไหน แต่ในปัจจุบันยังพบปัญหามากมายที่ทำให้แผนงานนี้ยังคงติดขัดอยู่บ้าง เนื่องจากต้องเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศทั่วโลกให้เข้าใจถึงปัญหาของการใช้งานพลาสติก และเลือกทิ้งขยะในพื้นที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเรื่องต้นทุนในการจัดการขยะพลาสติกชนิดต่างๆด้วย ทำให้เรื่องนี้ต้องอาศัยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในการร่วมมือกันช่วยเหลือ และออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ด้วย
สนธิสัญญา The zero draft plastic treaty คือ ?
สนธิสัญญาที่ชื่อว่า The zero draft plastic treaty เป็นสนธิสัญญาร่างเกี่ยวกับพลาสติกฉบับแรกที่ผูกพันกับกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องมลพิษจากพลาสติก ที่ได้ตกลงกันผ่านการประชุมของ สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ The United Nations Environment Assembly (UNEA) ในเดือน มีนาคม ปี 2565 เนื้อหาในการประชุมจะว่าด้วยการให้ความร่วมมือในการกำจัดขยะพลาสติก และหาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษทางพลาสติก ซึ่งจะเริ่มต้นใช้งานในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การลดมลพิษทางขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ให้ได้
ทั้งนี้สนธิสัญญาฉบับนี้ถูกเผยแพร่ผ่านโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลง และแสดงออกถึงการร่วมมือกันระหว่างประเทศในการพัฒนาสนธิสัญญาสำหรับข้อตกลงร่วมกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยสนธิสัญญาในฉบับ The zero draft นี้ ไม่ได้แสดงว่าให้เลือกการใช้พลาสติกทันทีแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของเป้าหมายสนธิสัญญา เพื่อแสดงให้เห็นว่าจุดประสงค์ของโครงการนี้สร้างมาเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากขยะให้เป็นศูนย์ ซึ่งคาดว่าสนธิสัญญานี้จะครอบคลุมเนื้อที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกดังต่อไปนี้
- ลดการผลิตและลดการบริโภคจากพลาสติกลง
- รณรงค์ส่งเสริมให้ใช้พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลใหม่ได้
- แก้ไข ปรับปรุงระบบการจัดการขยะเพื่อไม่ให้ขยะพลาสติกตกหล่น รั่วไหลไปสู่สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติได้
สถานการณ์พลาสติกของโลกในปัจจุบัน
พลาสติกในปัจจุบันถูกนิยมใช้และเติบโตขึ้นอย่างมาก ผลรายงานว่ามีการผลิตขึ้นมาในปี 2017 สูงถึง 348 ล้านตัน และคาดการณ์ว่ากำลังผลิตอาจจะสูงขึ้นเป็นสองเท่าตัวภายในปี 2040 แน่นอนว่าการที่ถูกผลิตมากขึ้นสูงก็ยิ่งหมายความว่าขยะที่เกิดขึ้นจากพลาสติกนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นตาม ซึ่งก่อผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ สัตว์ป่าได้ รวมถึงในกรณีที่นำไปทำการเผาทำลายพลาสติกเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงในการสร้างมลพิษทางอากาศอีก ถ้าหากทำการเผาอย่างไม่ถูกวิธีหรือเผาทำลายในที่โล่ง
และที่แย่กว่านั้นในกรณีที่ขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่ทะเล จะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และสัตว์น้ำเผลอคิดว่าพลาสติกเหล่านั้นเป็นอาหาร ทำให้กินเข้าไปแล้วก็เป็นอันตรายตัวอย่างเช่น กวางที่เขาใหญ่เสียชีวิตจากการเผลอกลืนถุงพลาสติกลงไป หรือในกรณีวาฬเกยตื้นที่จังหวัดสงขลาที่พบว่าเสียชีวิตจากการกลืนถุงพลาสติกไปมากกว่า 80 ใบ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพลาสติกที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้ส่งผลต่อระบบนิเวศในน้ำโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันมีรายงานว่ามีขยะจำพวกพลาสติกตกที่ลอยอยู่บนผืนน้ำทะเลเป็นจำนวนประมาณ 5-15 ล้านเมตริกตันต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก หาเราไม่ได้ลงมือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องพลาสติกเหล่านี้
เตรียมตัวรับมือกับสนธิสัญญาพลาสติกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สนธิสัญญาพลาสติกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ร้านค้า ร้านอาหาร หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลาสติกทุกชนิดควรให้ความสนใจ เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาเตรียมแผนรับมือก่อนล่วงหน้าได้ทันท่วงที ที่ผมอยากแนะนำสำหรับร้านค้า ร้านอาหารโดยเฉพาะควรให้รีบเปลี่ยนตัวบรรจุภัณฑ์เป็นแบบกล่องรักษ์โลกที่จะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการรองรับการใช้งานในอนาคตได้ดี และยังจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย
สรุป
สนธิสัญญาโลกที่เกี่ยวกับพลาสติก (Global treaty on plastic) เป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างประเทศทั่วโลกเพื่อที่จะหาทางออกในการแก้ไขปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากพลาสติก เนื่องมาจากจำนวนขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อเป็นผลร้ายทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และสัตว์ป่าต่างๆที่เผลอกินเข้าไป ทำให้ทั่วโลกต่างเล็งเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องแก้ไขหรือทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะช่วยลดพลาสติกเหล่านี้ให้หมดไป
หากสนใจบรรจุภัณฑ์กระดาษรักษ์โลกชนิดต่างๆ สามารถดูสินค้าต่อได้ที่ hongthaipackaging.com/shop/
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
13 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
29 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
8 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
121 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
73 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
20 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
209 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
16 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า