หลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง เรารู้แล้วว่าผลกระทบมีความรุนแรงมากกว่าที่คิด และระยะเวลาถึงจุดวิกฤติก็สั้นเกินคาดเดา ทั่วโลกจึงตระหนักและตื่นตัวกับการทำกิจกรรมรักษ์โลกมากขึ้น มีการผลักดันให้ผู้คนเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ง่าย มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการออกกฎหมายหรือข้อบังคับที่กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม โดยมี Carbon Footprint เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้มองภาพรวมได้ชัดเจน
Carbon Footprint คืออะไร
Carbon Footprint คือ ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ ก็ตามและถูกปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดก๊าซที่จะนำมาพิจารณาเอาไว้ 7 ชนิด แต่เนื่องจากคุณสมบัติของก๊าซที่แตกต่างกันนั้นมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนไม่เท่ากัน จึงต้องเทียบกับผลกระทบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหน่วยวัดมาตรฐาน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมหลายครั้งเราจึงได้ยินแต่การพูดถึงก๊าซคาร์บอน ทั้งที่ความจริงมีก๊าซชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย
สำหรับการคำนวณค่า Carbon Footprint นั้นยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปอีกในแต่ละอุตสาหกรรม แต่เราสามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
- Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งนับรวมตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการทำลายเมื่อหมดอายุการใช้ ซึ่งบนผลิตภัณฑ์จะมีเครื่องหมาย Carbon Footprint กำกับไว้ พร้อมแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภครู้ว่าตลอดกระบวนการของผลิตภัณฑ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไร
- Carbon Footprint ขององค์กร หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในทุกการดำเนินงานขององค์กร เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า การจัดทำเอกสารที่เป็นกระดาษ การเดินทางของพนักงาน เป็นต้น
- Carbon Footprint ของบริการ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในทุกองค์ประกอบของการให้บริการ ปกติจึงนับรวมทั้งส่วนของผลิตภัณฑ์และองค์กร
เหตุผลที่หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับ Carbon Footprint
การปรับเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมภายในองค์กร เพื่อให้มีค่า Carbon Footprint ลดลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้ทั้งเงินทุน เวลา และความร่วมมือกันของหลายฝ่ายภายในองค์กร ซึ่งหากมองในระยะสั้นอาจเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแน่นอนในระยะยาว และต่อไปนี้ก็คือเหตุผลหลักที่หลายองค์กรยอมลงทุนกับระบบรักษ์โลกมูลค่ามหาศาล
- นี่คือยุคทองขององค์กรที่มีภาพลักษณ์ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ถึงจะไม่สามารถลดค่า Carbon Footprint จนเกือบเท่ากับศูนย์ได้ แต่เพียงแค่มีการวางแผนใช้พลังงานหมุนเวียน หรือมีการติดตั้งระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็นับว่ามีแต้มต่อในวงการธุรกิจแล้ว
- ค่า Carbon Footprint มีผลกับโอกาสทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เห็นชัดเจนในเวลานี้คือธุรกิจการส่งออก หลายประเทศพิจารณาเลือกคู่ค้าจาก Carbon Footprint บางประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง และในไม่ช้าทุกกลุ่มธุรกิจก็จะมีข้อจำกัดเหล่านี้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
- สามารถต่อยอดบริการหรือผลิตภัณฑ์ขององค์กรไปสู่สินค้าในกลุ่มรักษ์โลกได้ง่าย ทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากกว่าองค์กรที่ละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อม
- ลดภาระค่าใช้จ่ายจำพวกภาษีคาร์บอนหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซึ่งมาจากกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กร ทั้งยังเพิ่มรายได้ด้วยการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตให้องค์กรอื่นที่ต้องการได้อีก
- ลดต้นทุนในส่วนของกิจกรรมที่นำพลังงานหมุนเวียนมาทดแทน หรือการตัดบางกิจกรรมที่ไม่จำเป็นและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกไป
- วางรากฐานองค์กรให้มีความยั่งยืน พร้อมสำหรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจและผู้บริโภคจะนึกถึง
แนวทางการลดค่า Carbon Footprint ขององค์กร
วิธีการปรับลดค่า Carbon Footprint นั้นไม่มีรูปแบบตายตัว เนื่องจากแต่ละองค์กรมีขั้นตอนการดำเนินงาน เป้าหมาย ตลอดจนสินค้าหรือบริการที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ให้เป็นพลังงานหมุนเวียน ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล หรือจะเลือกชดเชยด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตก็ได้ กรณีที่องค์กรไม่ได้ดำเนินการเองทั้งหมด การเลือกซัพพลายเออร์หรือพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยลดค่า Carbon Footprint ทางอ้อมก็สำคัญเหมือนกัน
Carbon Footprint for Packaging คือเรื่องที่มองข้ามไม่ได้
รู้หรือไม่ว่าการผลิตสินค้าและบริการ งานด้าน Packaging นั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยเลย ยิ่งเมื่อวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไป หีบห่อและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ก็มีปริมาณความต้องการใช้งานสูงขึ้น แม้จะมีมาตรการ Reuse และ Recycle แต่ก็ยังสร้างภาระให้กับโลกในแง่อื่นอยู่ดี ลองคิดดูว่าการผลิตกล่องกระดาษสำหรับใส่อาหารสักหนึ่งกล่องที่ต้องผ่านกระบวนการผลิต การพิมพ์ลาย ไปจนถึงการขนส่ง กิจกรรมทั้งหมดนี้จะมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน นี่ยังไม่รวมการใช้งานและการทำลายอีกด้วย
ดังนั้นหากองค์กรหรือแบรนด์สินค้าต้องการลดค่า Carbon Footprint ในภาพรวม เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจหรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้บริโภค ก็จำเป็นต้องเพิ่มความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในงาน Packaging จากเดิมที่เคยเน้นการออกแบบ Packaging ให้ดูสวยสะดุดตา มีเอกลักษณ์เด่นชัด หรือมีความแปลกใหม่จนใครต่อใครก็ต้องพูดถึง วันนี้ควรต่อยอดมาสู่การใช้วัตถุดิบที่ย่อยสลายง่าย ใช้กระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และควรมองไปถึงกระบวนการทำลายหรือ Recycle หลังใช้งานด้วย
โรงพิมพ์รักษ์โลก ฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยลด Carbon footprint ในภาคธุรกิจ
ในวันที่งานด้าน Packaging ต้องการมากกว่าความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ โรงพิมพ์รักษ์โลกจะกลายเป็นตัวเลือกใหม่ของหลายธุรกิจ ซึ่งโรงพิมพ์ควรตอบโจทย์ความต้องการได้แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับการใช้งาน ปลอดภัย และมีคุณสมบัติเป็น Green Packaging อย่างแท้จริง ยิ่งถ้ามีมาตรฐานรับรองบรรจุภัณฑ์ว่าเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานด้วยยิ่งดี เช่น มาตรฐานรับรองกระดาษที่สัมผัสกับอาหาร มาตรฐานรับรองกระดาษที่ปราศจากสารก่อมะเร็ง เป็นต้น
สิ่งที่ภาคธุรกิจจะได้รับจากการเลือกใช้บริการโรงพิมพ์รักษ์โลก อันดับแรกคือช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมขององค์กรได้ทันที ส่งผลให้ค่า Carbon Footprint ลดลงด้วย ต่อมาคือช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือภาคธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่า และกลายเป็นธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างยั่งยืนในอนาคตได้
ESG แนวคิดที่ทำให้โรงพิมพ์รักษ์โลกนั้นแตกต่าง
คนส่วนใหญ่อาจยังไม่คุ้นเคยกับ ESG มากนัก เพราะถึงแม้จะมีการริเริ่มแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 แต่กลับใช้เวลายาวนานกว่าจะได้รับความสนใจในวงกว้างอย่างจริงจัง ประเทศไทยเองก็พึ่งมีการผลักดันเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสรักษ์โลกและภาคธุรกิจระดับสากลที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็น
อันดับต้นๆ ซึ่งนอกจาก Carbon Footprint ที่เป็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ESG ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยยืนยันว่าองค์กรมีระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ESG คือแนวคิดในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่ได้หวังเพียงแค่ผลกำไรอย่างเดียว ESG มาจากคำสำคัญ 3 คำ ได้แก่ Environment Social และ Governance
หมายถึงการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อปัจจัย 3 ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและด้านธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสขององค์กร ซึ่งโรงพิมพ์ที่มีเป้าหมายเป็นผู้ผลิต Green Packaging จะต้องมีแผนพัฒนาตามกรอบ ESG และได้รับการประเมินอย่างละเอียดแบบรายปีทำให้โรงพิมพ์ต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ
บทบาทของ ESG ในงาน Paper Packaging
หากเจาะลึกในกลุ่มงาน Packaging ทั้งหมดก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบรรจุภัณฑ์จากกระดาษเป็นตลาดที่มีความต้องการสูงมากขึ้นเรื่อยๆเพราะงานกระดาษให้ความรู้สึกว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและให้สัมผัสที่ดีกว่าในการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์ไอเดียการผลิตบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่าด้วย แต่ในกระบวนการผลิตและใช้งานกระดาษก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยเหมือนกัน ESG จึงมีบทบาทสำคัญมากในเรื่องนี้
- ด้านสิ่งแวดล้อม รงพิมพ์รักษ์โลกจะต้องเลือกใช้กระดาษจากแหล่งป่าไม้ที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนเพื่อลดการทำลายและช่วยฟื้นฟูป่าไม้ไปในตัวมีการเลือกใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต อาจมีระบบพลังงานหมุนเวียนเข้ามาทดแทนการใช้พลังงานในรูปแบบเดิมและแน่นอนว่าต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เอื้อต่อการทำลายหรือนำกลับมาใช้ใหม่โดยส่งผลกระทบในทุกด้านน้อยที่สุด
- ด้านสังคม ก่อนจะไปถึงสังคมภายนอกต้องเริ่มจากสังคมภายในโรงพิมพ์ก่อนพนักงานทุกคนต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ยิ่งในโรงพิมพ์ที่มีสารเคมีหลายชนิดซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว ก็อาจต้องเปลี่ยนหมึกพิมพ์เป็นประเภทที่ไร้สารเคมีหรือใช้แผนการอื่นเพื่อดูแลในส่วนนี้ พนักงานทุกคนควรได้รับสิทธิ์และสวัสดิการต่างๆ ตามความเหมาะสม เมื่อสังคมภายในดีก็ควรขยายออกไปด้วยการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
- ด้านธรรมาภิบาล : โรงพิมพ์ต้องสามารถเปิดเผยกระบวนการผลิต การจัดซื้อจัดหาวัสดุ ตลอดจนแผนการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาอธิบายง่ายๆ ก็คือทุกอย่างมีความเป็นธรรมและโปร่งใสนั่นเอง จะเห็นว่าการเลือกพัฒนาโรงพิมพ์ตามแนวคิด ESG นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะภายใต้ประเด็นหลักนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากและต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา แต่การทุ่มเทนี้ก็ทำให้โรงพิมพ์กลายเป็นผู้ผลิตที่มีความรักษ์โลกและเท่ากับกำลังสร้างรากฐานของธุรกิจที่มีความยั่งยืน ซึ่งมีผลต่อโอกาสทางการค้าในอนาคตอย่างแน่นอน ส่วนกลุ่มลูกค้าที่เลือกใช้บริการโรงพิมพ์ที่มี ESG ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าการสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นแบรนด์รักษ์โลกด้วยประโยชน์ที่ภาคธุรกิจจะได้รับเมื่อเลือกใช้โรงพิมพ์รักษ์โลก
- เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วย
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากพอๆกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น
- เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากกว่า ไม่ใช่แค่การขยายฐานกลุ่มลูกค้าเดิมแต่รวมไปถึงการบุกเบิกในตลาดใหม่และนำผลิตภัณฑ์เข้าไปแข่งขันในตลาดโลกด้วย
- มั่นใจได้ในคุณภาพของงาน Packaging ที่ได้รับจากโรงพิมพ์ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อตกลงทั้งหมดด้วยกระบวนการทำงานที่ได้มาตรฐานและการจัดการอย่างโปร่งใสตามกรอบของ ESG นั่นเอง
- ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเจอกับการกระทำของโรงพิมพ์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น การใช้แรงงานผิดกฎหมาย การปล่อยให้ข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล การสอดไส้วัสดุที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น
- เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนชุมชนด้วย เพราะโรงพิมพ์ที่ทำ ESG จะมีระบบดูแลพนักงานที่ดีและมีการทำประโยชน์เพื่อชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำสินค้าจากโรงงาน
สินค้าสั่งผลิต
13 สินค้า
กระดาษกันกระแทก รองสินค้า
25 สินค้า
กล่องของขวัญ (Gift Box)
9 สินค้า
กล่องไดคัทหูช้าง (Die-cut Box)
17 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารประเภทเส้น อาหารตามสั่ง (Paper Food Packaging for Noodles)
29 สินค้า
สติ๊กเกอร์ Sticker / Label
8 สินค้า
แกนกระดาษ กระบอกโปสเตอร์พร้อมฝา (Paper Core+Lid)
12 สินค้า
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Cardboard)
8 สินค้า
กล่องพัสดุ กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Carton Box)
122 สินค้า
กล่องไปรษณีย์ (Postal Box)
73 สินค้า
ของเล่นกระดาษ (Paper Toy)
20 สินค้า
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม (Food Paper Packaging)
214 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงกลม (Round Shaped Food Paper Packaging)
30 สินค้า
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารทรงเหลี่ยม (Square Shaped Food Paper Packaging)
31 สินค้า
พาเลทกระดาษ (Paper Pallet)
1 สินค้า
อุปกรณ์นิรภัย (Safety Equipment)
10 สินค้า
อุปกรณ์แพ็คกิ้ง (Packing Equipment)
16 สินค้า
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper Sheet)
49 สินค้า
กระดาษฝอยกันกระแทก รองกล่อง
6 สินค้า